วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๔๕. การแปลงพยัญชนะ ในฏวรรค (ต่อ)

ครั้งที่ ๓๐ : พยัญชนาเทสสนธิ คือ การเชื่อมบทโดยแปลงพยัญชนะ
การแปลงพยัญชนะ ในฏวรรค (ต่อ)

หลักการใช้ : อุทาหรณ์ของการแปลงพยัญชนะ ฎวรรคและตวรรค
ในที่นี้ยก ฎวรรคและตวรรคมาแสดงก่อน ส่วนในวรรคอื่นๆจะแสดงไปตามลำดับ
-----
ในฏวรรค (ณ)
เมื่อแปลง ณ เป็น ญ ในเพราะ ย แล้ว ย จะกลายเป็นปุพพรูป คือ ญ เช่น
กลุ่มคำชุดแรก คือ โปกฺขรญฺโญ, โปกฺขรญฺญา, โปกฺขรญฺญํ
ทั้งสามนี้ ศัพท์เดิมมาจาก
โปกฺขรณี สระบัว ลง โย, นา, สฺมึ ก็จะได้รูปเป็น
โย = โปกฺขรญฺโญ, นา = โปกฺขรญฺญา, สฺมึ  = โปกฺขรญฺญํ
ท่านสาธุชนทั้งหลาย ย ที่จะเป็นเหตุให้แปลง ณ เป็น ญ ใน ๓ วิภัตตินี้จะแยกเป็น ๓ ประเด็น
๑) ยที่เป็นเหตุให้แปลง ณ เป็น ญ ใน โปกฺขรญฺโญ ก็คือ ยที่เป็นวิภัตติ คือ ใน โยวิภัตติ,
๒) ยที่เป็นเหตุให้แปลง ณ เป็น ญ ในโปกฺขรญฺญา คือ ย ที่เป็นอาเทส (ตัวแปลง) ของ นาวิภัตติ
๓) ยที่เป็นเหตุให้แปลง ณ เป็น ญ ในโปกฺขรญฺญํ คือ ยํ ที่เป็นอาเทสของสฺมึวิภัตติ.

สำหรับขั้นตอนการแปลง ยเป็นปุพพรูปมีดังนี้
จะเริ่มที่ โปกฺขรญฺโญ ก่อน
โปกฺขรญฺโญ (อ.สระบัวท.) มาจาก โปกฺขรณี + โย
- เพราะ ย ลบ อี = โปกฺขรณฺ ย โอ ด้วยสูตร
๙๒ เย ปสฺสิวณฺณสฺส เพราะย ลบ อิ วัณณะชื่อ ป
- เพราะ ย แปลง ณฺ เป็น ญฺ = โปกฺขรญฺย โอ ด้วยสูตรนี้ คือ
๔๔. ตวคฺควรณานํ เย จวคฺคพยญา
เพราะ ย แปลง ต วรรค เป็น จวรรค, ว เป็น พ, ร เป็น ย, และ ณ เป็น ญ ได้บ้าง.
- แปลง ย เป็น ญ ปุพพรูป =  โปกฺขรญฺญ โอ > โปกฺขรญฺโญ  ด้วยสูตรที่แล้วคือ
๔๓. วคฺคลเสหิ เตฯ
ย ที่อยู่หลัง พยัญชนวรรค , ล และ ส ให้แปลง ย เป็นพยัญชนะวรรค ล และ ส เหล่านั้น
------
โปกฺขรญฺญา (ด้วย, แก่, จาก, แห่งสระบัว)  มาจาก โปกฺขรณี + นา เป็นต้น
 - ท้าย ป นา เป็น ยา > โปกฺขรณี + ยา ด้วยสูตรนี้
๔๕ ฆปโตกสฺมิํ นาทีนํ ยยา
หลัง ฆ และ ป เอานาวิภัตติเป็นต้นเป็น ย และ ยา ตามลำดับ

- ลบ อี เพราะ ย, แปลง ณฺ เป็น ญฺ เพราะ ย และ แปลง ย ที่ ยา เป็นปุพพรูป (เหมือนในรูปโปกฺขรญฺโญ) สำเร็จรูปเป็น โปกฺขรญฺญา
โปกฺขรณี + นา > โปกฺขรณฺ ยา > โปกฺขรญฺ ยา > โปกฺขรญฺ ญ อา > โปกฺขรญฺญา

โปกฺขรญฺญํ ในสระบัว มาจาก โปกฺขรณี + สฺมึ
- ท้าย ป สฺมึ เป็น ยํ > โปกฺขรณี ยํ  ด้วยสูตร
๑๐๓  ยํ หลัง ฆ และ ป เอา สฺมึ เป็น ยํ บ้าง
-  ลบ อี เพราะ ย เป็นต้น เหมือน โปกฺขรญฺโญ)
โปกฺขรณี + สฺมึ  > โปกฺขรณฺ ย อํ > โปกฺขรญฺ ย อํ > โปกฺขรญฺ ญ อํ >= โปกฺขรญฺญํ ]

วันนี้เห็นทีจะได้แค่ โปกฺขรญฺโญ โปกฺขรญฺญา โปกฺขรญฺญํ ซึ่งเป็นปทมาลาของโปกฺขรณีศัพท์ที่แปลว่า สระมีดอกบัว.
ทิ้งท้ายด้วยคำว่า โปกฺขรณี (โปกฺขร ดอกบัว + อี ปัจจัย + นี อิตถีปัจจัย= โปกฺขรณี) สระมีดอกบัว
ลง อี ปัจจัย ท้าย โปกฺขร ศัพท์ ในอรรถว่า “มีในสถานที่นี้” ด้วยสูตร ๔๗๖. ทณฺฑาทีหิกอี วา ลง อี อิก ปัจจัยลงท้ายทณฺฑศัพท์เป็นต้นในอรรถว่า มี (โปกฺขร +  อี = โปกฺขรี สระมีดอกบัว)
ท้าย โปกฺขรี ลง นี อิตถีปัจจัย ด้วยสูตร
๗๖. ฆรณฺยาทโย
ฆรณีศัพท์เป็นต้น มีนีปัจจัย ในอิตถีลิงค์. (โปกฺขรี + นี = โปกฺขรีนี)
แปลง อี ที่ โปกฺขรี  เป็น อ ด้วยสูตร
๓๓. ตทมินาทีนิ
รูปใดๆที่ไม่สำเร็จด้วยสูตร, รูปนั้นทั้งหมดสำเร็จได้ด้วยนิปาตนะ คือ การทำบทให้สำเร็จรูปด้วยคำว่า ตทมินา เป็นต้น
สูตรนี้เป็นมหาสูตร ใช้สำเร็จรูปที่ไม่มีสูตรให้ทำตัว โดยใช้คำว่า ตทมินา เป็นคำเปรียบเทียบว่า สำเร็จรูปเหมือนคำว่า ตทมินา เป็นต้น. (โปกฺขร + นี = โปกฺขรนี)
แปลง น เป็น ณ  ด้วยสูตร ๔๕. ตถนรานํ ฏฐณลา  ฏ ฐ ณ และล ท. เป็นอาเทส ของ ต ถ น และร. ได้บ้าง  เป็น โปกฺขรณี.  โปกฺขรนี  = โปกฺขรณี)

******

ขออนุโมทนา
สมภพ สงวนพานิช


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น