วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๖๐.แปลง ว เป็น โอ

วสฺส โอตฺตํ
อุโปสโถ อุปวสโถติ ฐิติ, โนนีตํ นวนีตํ, นิวตฺถโกโจ นิวตฺถกวโจ, โก เต พลํ มหาราช, โก นุ เต รถมณฺฑลํกฺวติ อตฺโถฯ โก เต ทิฏฺโฐ วา สุโต วา, วานโร ธมฺมิโก อิติ, โก นุเม โคตมสาวกา คตา-กฺว นุ+อิเมติ เฉโท, โสณฺณํ สุวณฺณํ อิจฺจาทิฯ

แปลง ว เป็น โอ เช่น

ปท
ปทจฺเฉท
คำแปลและอธิบายสังเขป
อุโปสโถ
อุปวสโถ
(ฐิติ) ดำรงอยู่
โนนีตํ
นวนีตํ
เนยใส
นิวตฺถโกโจ
นิวตฺถกวโจ
สวมเกราะแล้ว
โก เต พลํ มหาราช,
โก นุ เต รถมณฺฑลํ 
กฺว เต
กฺว นุ
ดูกรมหาบพิตร ไพร่พลของพระองค์อยู่ที่ไหน
รถของพระองค์อยู่ที่ไหน
โก เต ทิฏฺโฐ วา สุโต วา, วานโร ธมฺมิโก อิติ,
กฺว เต
วานร ที่ตั้งอยู่ในธรรม ท่านเคยเห็น เคยได้ยินว่ามีอยู่ในที่ไหนหรือ
โก นุเม โคตมสาวกา
กฺว + นุ + อิเม
พระสาวกของพระโคตมพุทธเจ้าเหล่านี้อยู่ที่ไหน
โสณฺณํ
สุวณฺณํ
ทองคำ


ครั้งที่๕๖ : มิสสกาเทส การแปลงอักษรที่คละกัน
แปลง ว เป็น โอ
ว ที่กลายมาจากโอ ตามกฏที่ว่า ๓๘. เอโอนํ ( แปลง เอ เป็น ย และ โอ เป็น ว เพราะสระข้างหลัง)  สามารถกลับเป็น โอ ได้อีก ตามรูปที่มีใช้ในพระบาฬี
พระคันถรจนาจารย์กล่าวว่า รูปอุทาหรณ์เหล่านี้ เป็นรูปของ ว ที่กลายมาจาก โอ
อุโปสโถ             = อุปวสโถ       อุโปสถศัพท์นี้ หมายถึง ฐิติ ดำรงอยู่ หรือการเข้าอยู่
โนนีตํ                = นวนีตํ          เนยใส
นิวตฺถโกโจ          = นิวตฺถกวโจ   สวมเกราะแล้ว
โสณฺณํ               = สุวณฺณํ         ทองคำ

สำหรับในอุทาหรณ์เหล่านี้ว่า
โก เต พลํ มหาราช, โก นุ เต รถมณฺฑลํ 
ดูกรมหาบพิตร ไพร่พลของพระองค์อยู่ที่ไหน รถของพระองค์อยู่ที่ไหน
โก เต ทิฏฺโฐ วา สุโต วา, วานโร ธมฺมิโก อิติ,
วานร ที่ตั้งอยู่ในธรรม ท่านเคยเห็น เคยได้ยินว่ามีอยู่ในที่ไหนหรือ
โก นุเม โคตมสาวกา
พระสาวกของพระโคตมพุทธเจ้าเหล่านี้อยู่ที่ไหน

โก ตัดบทเป็น กฺว ซ่งเป็นรูปที่ลง ว ปัจจัย ท้าย กิํ สัพพนาม ในอรรถสัตตมีวิภัตติ จึงแปลว่า ที่ไหน

ท่านสาธุชนทั้งหลาย บาฬีนั้น มีนัยวิจิตรนัก การศึกษาวิธีการตัดบทตามหลักการของสนธิ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้เห็นบทได้ชัดเจน หากดูผิวเผินมิได้พิจารณาถึงรูปพยัญชนะและการตัดบทให้แยบคาย อาจแปลผิดได้ง่ายๆ ดังที่มีคาถาเตือนใจให้นักแปลบาลีได้พิจารณาว่า
                    ปทจฺเฉทํ  ปฐมํว                              กตฺวาน  ตทนนฺตรํ
                    สมาโส  กตฺตพฺโพ  ปจฺฉา                   อตฺถํ  ชาเนยฺย  ปณฺฑิโต.
(สัททสารัตถชาลินี คาถา ๔๐๐)
แปลว่า “ลำดับแรกบัณฑิตควรตัดบทต่อมาจึงทำสมาส ทำเช่นนี้จึงสามารถรู้เนื้อความได้”
คาถานี้เป็นแนวทางการทำสมาส โดยให้พิจารณาถึงการตัดบทให้ได้เสียก่อนต่อมาจึงแสดงรูปวิเคราะห์สมาส เช่นนี้แล้วจึงสามารถแปลเนื้อความของบทได้ไม่ผิดจากความประสงค์ของผู้รจนา.
ด้วยเหตุนี้ การศึกษาเรื่องสนธิ จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก ควรที่จะได้ศึกษาเป็นลำดับแรกให้เป็นพื้นฐานของการประกอบรูปศัพท์ในลำดับต่อไป. ส่วนความหมายของศัพท์ จะไม่กล่าวโดยพิสดารในที่นี้.

ขออนุโมทนา
สมภพ สงวนพานิช



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น