วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๗๗. อิ อาคม

อิ
(สระ) อิ เป็นอาคม

ธมฺมิกถํ กตฺวา[1], สรนฺตา สปนฺติ คจฺฉนฺตีติ สริสปาฯ
ตัวอย่าง
ปท
ปทจฺเฉท
คำแปลและอธิบายสังเขป
ธมฺมิกถํ กตฺวา
ธมฺม + อิ + กถํ
ทำธรรมกถา (การแสดงธรรม ชื่อว่า ธรรมกถา) , กถาประกอบด้วยธรรมต่าง ๆ
สรนฺตา สปนฺติ คจฺฉนฺตีติ สริสปา
สร + อิ + สปา
สัตว์ที่เลื้อยไป ชื่อว่า สริสปา ได้แก่ งู


ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนี
คร้้งที่ ๗๗ : อาคมสนธิ การเชื่อมบทโดยการแทรกเสียง
ต่อจาก อา อาคม จะเป็น อิ อาคม
การลงอิอาคม จะลงท่ามกลางบท เช่นในตัวอย่างนี้
ธมฺมิกถํ กตฺวา กระทำแล้วซึ่งธรรมีกถา
ธมฺมิกถา ตัดบทเป็น ธมฺม + กถา โดยลง อิอาคม ระหว่าง ธมฺม และ กถา เป็น ธมฺมิกถา. มักแปลทับศัพท์เป็นธรรมีกถา คือ คำพูดเกี่ยวกับหรือปรารภข้อธรรม โดยต้องประกอบด้วยธรรมปฏิบัติต่างๆ

สริสปา งู
ในคำว่า สริสปา นี้ มาจาก สร เป็นบทหน้า สป ธาตุ ลง อ ปัจจัย และลง อิ อาคมระหว่าง สร และ บทว่า สป จึงได้รูปเป็น สริสป มีรูปวิเคราะห์ว่า
สรนฺตา สปนฺติ คจฺฉนฺตีติ สริสปา
สัตว์ที่กำลังเลื้อยไป ชื่อว่า สริสป.
สริสป เป็นชื่อของงู โดยอาศัยกิริยาการเลื้อยไปเป็นเหตุให้ได้ชื่อว่า สริสป. ความจริง สัตว์ที่มีลำตัวยาวและสามารถเลื้อยไปมานอกจากงูแล้วอาจมีสัตว์อื่นๆ แต่คำนี้หมายเอางูเท่านั้น. (ขันธชาดกอรรถกถา)

 -----
ข้อสังเกต

ข้อแตกต่างระหว่างปาฐะที่มาในพระบาฬีและคัมภีร์อื่นๆ
พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ เป็น สิริํสป ก็มี สิรีสป ก็มี
พระไตรปิฎกฉบับฉัฏฐสังคายนา (ฉัฏฐสังคายนาซีดี) เป็น สรีสป
คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา คาถา ๖๕๔ เป็น สรีสป
คัมภีร์นิรุตติทีปนีเป็น สริสป
ปาฐะที่มาในคัมภีร์พระไตรปิฎกฉบับฉัฏฐสังคายนาสมัยนี้เป็น สรีสป ไม่ใช่ สริสป แม้คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา ก็มีรูปเป็น สรีสป และในคัมภีร์ฎีกาอภิธานนัปปทีปิกานั้นก็ระบุไว้ชัดเจนว่า มาจาก สร = ภุสํ, ปุนปฺปุนํ เรื่อยๆหรือคดไปคดมา + สปฺป ไปคด (เลืัอย) มีการแปลง อ ที่ สร เป็น อี และ ลบ ปฺ ที่ สปฺป สำเร็จรูปเป็น สรีสป หมายถึง งู และให้วิเคราะห์เป็น ๒ นัย คือ
สรนฺโต สปฺปติ คจฺฉตีติ สรีสโป,
ภุสํ, ปุนปฺปุนํ วา กุฏิลํ สปฺปตีติ สรีสโป
งูที่กำลังเลื้อยไปเรื่ือยๆ หรือคดไปคดมา ชื่อว่า สรีสปะ.
วิเคราะห็แรกเป็นวิเคราะห์โดยสังเขป ส่วนวิเคราะห์หลังท่านขยายคำว่า สร ว่ามีความหมายว่า ภุสํ ดังนั้น คำว่า สปฺปติ จึงมีความหมายว่า เลื้อยไปโดยเร็ว, อีกนัยหนึ่ง คำว่า สร มีความหมายว่า ปุนปฺปุนํ  ดังนั้น คำว่า สปฺปติ จึงมีความหมายว่า เลื้อยไปเรื่อยๆ
แต่พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐปัจจุบันเป็น สิรีสป ก็มี สิริํสป ก็มี โดยวิเคราะห์ว่า
สีสํ โภคนฺตเร กตฺวา สุปนภาเวน สิรสา  สุปตีติ สิรีสปาฯ
งูที่นอนด้วยหัว ชื่อว่า สิรีสป หมายถึง ซ่อนหัวเข้าไปในระหว่างขนดแล้วนอน.
โดยนัยนี้มาจาก สิร = หัว + สุป ธาตุ ในอรรถว่า นิทฺทา นอน ลง อ ปัจจัย แปลง อ ที่ สิร เป็น อี และแปลง อุ ที่ สุป ธาตุ เป็น อ สำเร็จรุปเป็น สิรีสป. ส่วนรูปว่า สิริํสป เห็นว่า น่าจะเป็นการลงนิคคหิตอาคม.
จะเห็นว่า คัมภีร์นิรุตติทีปนี มีความเห็นว่า มีการลง อิ อาคม ระหว่าง สร และ สป จึงมีรูปต่างจากคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา. ข้าพเจ้าคิดว่า พระบาฬีในยุคที่ท่านรจนาคัมภีร์นิรุตติทีปนีคงมีรูปว่า สริสป ต่อมา เมื่อทำการตรวจชำระเป็นฉบับฉัฏฐสังคายนา จึงมีการชำระปาฐะว่า สริสป ให้ตรงตามหลักฐานในคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกานั้น.
หมายเหตุ คัมภีร์นิรุตติทีปนีรจนา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๖-๒๔๔๖ ส่วนการสังคายนาครั้งที่ ๖ (ฉัฏฐสังคายนา) เกิดขึ้น เมื่อ ๒๔๙๘-๒๕๐๐ ดังนั้น จึงเป็นไปได้ที่ปาฐะในพระไตรปิฎกของพม่าตามที่คัมภีร์นิรุตติทีปนีนำมาเป็นอุทาหรณ์นั้น อาจถูกชำระในสมัยฉัฏฐสังคายนา.

******

ขออนุโมทนา
สมภพ สงวนพานิช




[1] [ปารา. ๓๙],

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น