วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๑๕. ปกติสนธิ ปฏิเสธการลบ

 (ปฏิเสธวิธิสูตร กล่าวคือ เป็นปกติในบางแห่ง)
๒๘. น เทฺว วา
สระหน้าและหลังทั้งสองนั้นที่ไม่ถูกลบ ก็มี.

เทฺว ปุพฺพปรสรา กฺวจิ โลปา น โหนฺติ วาฯ
สระหน้าและสระหลังทั้งสองประการนั้น ในบางแห่งไม่ถูกลบไปก็มี (ถูกลบก็มี) ตัวอย่างเช่น

อปฺปมาโท อมตํ ปทํ [ธ. ป. ๒๑], โก อิมํ ปถวิํวิเจสฺสติ [ธ. ป. ๔๔]ฯ
คงรูปเป็น อปฺปมาโท อมตํ ปทํ ตามเดิม (ไม่ลบสระหน้าเป็น อปฺปมาทมตํ ปทํ)
คงรูปเป็น โก อิมํ ปถวึ วิเจสฺสติ (ไม่ลบสระหลังเป็น โกมํ ปถวึ วิเจสฺสติ)

กฺวจิตฺเวว? โสตินฺทฺริยํ [วิภ. ๒๑๙], จกฺขุนฺทฺริยํ [วิภ. ๒๑๙],
ที่ข้าพเจ้าได้กล่าวคำว่า บางแห่ง (กฺวจิ)  เพื่อแสดงว่า ในบางแห่งสามารถลบสระหน้าและสระหลังได้ นอกจากอุทาหรณ์นี้ ในอุทาหรณ์อื่น แต่มีลักษณเช่นเดียวกันนี้ เช่น
โสตินฺทฺริยํ (โสต + อินฺทฺริยํ รูปนี้เข้าสนธิโดยลบสระหน้าตามปกติ ไม่คงรูปเดิมตามสูตรนี้)
จกฺขุนฺทฺริยํ (จกฺขุ + อินฺทฺริยํ รูปนี้เข้าสนธิโดยลบสระหลัง ไม่คงรูปเดิม)

วาติ กิํ? โกมํ วสลิํ ปรามสิสฺสติฯ
ที่ได้กล่าวว่า ลบได้ก็มี (วา) เพื่อแสดงว่า ในรูปตัวอย่างแบบนี้จะคงไว้ก็ได้ เข้าสนธิตามปกติก็ได้ เช่น
โกมํ วสลึ ปรามสิสฺสติ [1]

(คำชี้แจงของท่านผู้รจนาคัมภีร์)
อิโต ปฏฺฐาย ยาวสนฺธิกณฺฑาวสานา ยุตฺตฏฺฐาเนสุ สพฺพตฺถ กฺวจิสทฺโท, วาสทฺโท จ วตฺตนฺเตฯ ตตฺถ กฺวจิสทฺโท นานาปโยคํ ทสฺเสติฯ วาสทฺโท เอกปโยคสฺส นานารูปํ ทสฺเสติฯ โลปนิเสโธฯ
ตั้งแต่นี้ไปจนจบสนธิกัณฑ์ กฺวจิ และ วา ศัพท์ ตามไปในทุกสูตรที่มีอุทาหรณ์ที่เกี่ยวข้อง. กฺวจิศัพท์จะแสดงหลายตัวอย่าง, ส่วนวาศัพท์แสดงหลายรูปของตัวอย่างเดียว. [2] สูตรนี้เป็นการปฏิเสธการลบ.



[1] แสดงว่า คำว่า โก อิมํ มี ๒ รูป คือ โก อิมํ ไม่เข้าสนธิ คิอ เป็นปกติตามสูตรนี้ และจะเข้าสนธิโดยปฏิเสธสูตรนี้ก็มี เช่น โกมํ ก็มี
[2] ต่อไปนี้จนจบการใช้อุ.ของสูตรจะมี ๒ แบบ เนื่องด้วยกฺวจิและวา ศัพท์. สูตรที่มีวาศัพท์ในสูตร และในวุตติ แสดงไว้ทั้งกฺวจิและวา หมายความว่า  สูตรนั้นมีอุ.ที่เป็นไปตามสูตรนี้แน่นอน และบางอุ.ไม่เป็นไปตามสูตรนี้.  ส่วนบางอุ. จะมีรูปถึงสองอย่างคือ เป็นไปและไม่เป็นไปตามสูตรนี้. ลักษณะเช่นนี้ตรงกับการแสดงด้วย วาศัพท์ ที่มีอรรถววัตถิตวิภาสา ในคัมภีร์ปทรูปสิทธิ.
ในที่นี้ กฺวจิ จะแสดงอุทาหรณ์ที่เป็นไปตามสูตรนี้ และ ที่ไม่เป็นไปตามสูตรนี้. ส่วน วา จะแสดงอุทาหรณ์ที่มีได้สองรูปของอุทาหรณ์เดียว
ในสูตรนี้ คำว่า ปมาโท อมตํ ปทํ เป็นปกติถูกห้ามการลบสระหน้าหรือสระหลัง ด้วยสูตรนี้แน่นอน
คำว่า โสตินฺทฺริยํ ไม่เป็นปกติด้วยสูตรนี้ โดยถูกลบสระหลังไปเพื่อเข้าสนธิ ถือว่า ไม่มีวิธีการตามสูตรนี้ สองตัวอย่างนี้ เป็นผลของกฺวจิ ในบางแห่ง ที่ว่า บางแห่งทำได้ บางแห่งทำได้แต่ไม่ทำ
คำว่า โก อิมํ ไม่เข้าสนธิ ก็มี เข้าสนธิ เป็น โกมํ ก็มี ตัวอย่างนี้ถือเป็นผลของ วาศัพท์ ที่วา รูปนี้ทำได้แบบนี้ก็ได้ ไม่ทำก็ได้.
แต่ถ้าในสูตรใด ระบุแต่ กฺวจิ แสดงว่า สูตรนี้มีอุทาหรณ์ ๒ อย่าง คือ บางอุทาหรณ์ทำได้ บางอุทาหรณ์ไม่ได้ทำ. และในสูตรใด ระบุ แต่เพียง วา แสดงว่าสูตรนั้น อุทาหรณ์เดียวแต่มีรูปได้สองอย่าง.
อนึ่ง กฺวจิ และ วา ที่มาคู่กันในสูตรต่อจากนี้ไปจนจนสนธิกัณฑ์ ไม่ได้มาโดยตรงด้วยตัวสูตร แต่มาโดยอธิการนัย คือ นัยที่แสดงการติดตามไปในสูตรต่างๆ เพื่ออุปการะแก่วิธีที่ไม่ได้กล่าวไว้ในสูตรข้างหน้า.)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น