วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๔๖. การแปลงพยัญชนะ ฏวรรค (ต่อ)

ครั้งที่๓๑ : พยัญชนาเทสสนธิ คือ การเชื่อมบทโดยแปลงพยัญชนะ
การแปลงพยัญชนะ ฏวรรค (ต่อ)
สำหรับรูปว่า สามญฺญํ =  ความเป็นสมณะ.  มาจาก  สมณ + ณฺย = สามญฺญํ. มีรูปวิเคราะห์ว่า
สมณสฺส ภาโว สามญฺญํ
ความเป็นแห่งสมณะ ชื่อว่า สามญฺญ
ขั้นตอนการสำเร็จรูป สามญฺญํ (สมณ +  ณฺย)
- เพราะ ณฺย ข้างหลัง ลบ อ ท้าย (สมณฺ + ณฺย) ด้วยสูตร
๔๓๖ โลโปวณฺณิวณฺณานํ
เพราะณฺยปัจจัย ข้างหลัง ลบ อ วัณณะ และ อิวัณณะ
- เพราะ ยมีณฺอนุพันธ์ วุทธิสระหน้า (สามณฺ + ณฺย) ด้วยสูตรนี้
๔๓๑. ปทานมาทิสฺสายุวณฺณสฺสาเอโอ ณานุพนฺเธ
ในเพราะปัจจัยอันมีณเป็นอนุพันธ์ เบื้องหลัง อา เอ และโอ เป็นวุทธิของออักษร อิวัณณะ อวัณระ อันเป็นเบื้องต้นของบทท.
- ไม่ต้องแสดง ณฺ เพราะเป็นเครื่องสังเกต ไม่ถูกนำมาใช้ในประโยค (สามณฺ + ย) ด้วยสูตร
๒๓. สงฺเกโต นาวยโวนุพนฺโธ
อักษรที่เป็นอนุพันธ์เป็นเพียงเครื่องสังเกตวิธีการในสูตร (ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของประโยค)
- แปลง ณฺ เป็น ญฺ (สามญฺ + ย) ด้วยสูตรนี้  
๔๔. ตวคฺควรณานํ เย จวคฺคพยญา
เพราะ ย แปลง ต วรรค เป็น จวรรค, ว เป็น พ, ร เป็น ย, และ ณ เป็น ญ ได้บ้าง.
- แปลง ย เป็นปุพพรูป (สามญฺ + ญ) ด้วยสูตรนี้
๔๓. วคฺคลเสหิ เตฯ
ย ที่อยู่หลัง พยัญชนวรรค , ล และ ส ให้แปลง ย เป็นพยัญชนะวรรค ล และ ส เหล่านั้น

ด้วยขั้นตอนดังกล่าวสำเร็จรูปเป็น สามญฺญ ลงสิวิภัตติ เป็น สามญฺญํ.
-------------
สูตรเหล่านี้ท่านแสดงไว้ในตัทธิตราสิ เพราะบทว่า สามญฺญํ เป็นบทตัทธิต ดังนั้น ผู้เขียนนำมาแสดงคั่นลำดับไว้เพื่อกันความสงสัยว่า เหตุไร ในขั้นตอนของการกลายรูป จึงลบ สระ อ ของบทหน้า เป็น สมณฺ และกลายเป็นเสียงที่เพิ่มขึ้น ได้อย่างไร.
ในศัพท์ที่ลง ณฺย ปัจจัยใช้สูตรชุดนี้สำเร็จรูปเสมอ ดังนั้น ในคราวต่อไปหรือที่ผ่านมา หากไม่ได้กล่าวถึงสูตรนี้ ก็ขอให้ท่านสาธุชนทั้งหลายได้คำนึงถึงหลักการเหล่านี้เถิด

 ***********
ขออนุโมทนา

สมภพ สงวนพานิช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น