วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๖๒.ทฺร เป็น อาเทส ของ ท

ทสฺส ทฺรตฺตํ
อินฺทฺริยํ, สุโข อุทโย ยสฺสาติ สุขุทฺรยํ, ทุกฺขุทฺรยํ กมฺมํ[1], ปถวี อุนฺทฺริยฺยติ ภิชฺชตีตฺยตฺโถ[2], มิตฺตทฺรุพฺโภ มิตฺตทฺทุพฺโภฯ

ทฺร เป็น อาเทส ของ ท
ปท
ปทจฺเฉท
คำแปลและอธิบายสังเขป
อินฺทฺริยํ
อินฺท + อิย ปัจจัย
อินทรีย์ (ได้แก่ อินทรีย์ ๖)
สุโข อุทโย ยสฺสาติ สุขุทฺรยํ
สุข + อุทย
มีสุขเป็นกำไร (กุศลกรรม)
ทุกฺขุทฺรยํ กมฺมํ
ทุกฺข + อุทย
มีทุกข์เป็นกำไร (อกุศลกรรม)
ปถวี อุนฺทฺริยติ ,ภิชฺชตีตฺยตฺโถ
อุนฺทิยติ (อุทิ ธาตุ + ย + ติ)
แผ่นดิน ย่อมแตก คือ แยกออก.
มิตฺตทฺรุพฺโภ
มิตฺต + ทุพฺโภ
ผู้ทำร้ายมิตร (หักหลัง, ทรยศ) 
ใช้ในรูปเดิมเป็น มิตฺตทฺทุพฺโภ ก็มี.


ครั้งที่๕๘ : มิสสกาเทส การแปลงอักษรที่คละกัน

“แปลง ท เป็น ทฺร”
มีบางศัพท์ที่เราใช้กันจนคุ้นเคย แต่ กลับหาไม่พบว่า มาจากรากศัพท์ อะไร เพราะมีการกลายรูปไปจากธาตุและนามศัพท์ไปไกลทีเดียว เช่น
อินฺทฺริยํ    = อินฺท + ณิย ปัจจัย     อินทรีย์ (อินทรีย์ ๖ เป็นต้น)
สุขุทฺรยํ  = สุข + อุทย มีสุขเป็นกำไร (เป็นผลตอบแทน) ได้แก่ กุศลกรรม มีรูปวิเคราะห์ว่า
สุโข อุทโย ยสฺสาติ สุขุทฺรยํ กรรมอันมีสุขเป็นกำไร
ทุกฺขุทฺรยํ (กมฺมํ) =ทุกฺข + อุทย มีทุกข์เป็นกำไร ได้แก่ อกุศลกรรม ,มีวิเคราะห์โดยนัยเดียวกับ สุุขุทฺรยํ
อุนฺทฺริยติ = อุทิ ธาตุ แตก + ย + ติ (ลงนิคคหิตอาคมท้ายสระต้นธาตุ แปลงนิคคหิตเป็นตวัคคันตพยัญชนะ) ตัวอย่างเช่น ปถวี อุนฺทฺริยติ. แผ่นดิน ย่อมแตก ความหมายคือ คือ แยกออก.
มิตฺตทฺรุพฺโภ = มิตฺต + ทุพฺโภผู้ทำร้ายมิตร (หักหลัง, ทรยศ)  ใช้ในรูปเดิมเป็น มิตฺตทฺทุพฺโภ ก็มี.

“คำศัพท์ที่น่าจับตามอง”.
ในตัวอย่างเหล่านี้ อินฺทฺริย ได้แก่ อินทรีย์มีมนินทรีย์เป็นที่ ๖, อินทริยธรรม ๕ มีสัทธินทรีย์เป็นต้น, และอินทรีย์ ๒๒ มีจักขุนทรีย์เป็นต้น.  ศัพท์เดิมมาจาก อินฺท ผู้เป็นใหญ่ คือ พระอินทร์,  พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และกุศลกรรมและอกุศลกรรม + ณิย ปัจจัย มีความหมายว่า ประกาศและสำเร็จ. แปลง ท ท้าย อินฺท เป็น ทฺร ด้วยหลักการนี้ จึงเป็น อินฺทฺริย. ดังนั้น คำว่า อินฺทฺริย จึงมีความหมายเฉพาะอินทรีย์ ๖ อินทรีย์ ๒๒ และอินทรียธรรม ๕ เท่านั้น. เพราะเป็นสิ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศ และ เป็นสิ่งที่แสดงกุศลกรรมและอกุศลกรรมหรือสำเร็จจากกุศลและอกุศลกรรมนั้น. แต่ในกรณีที่ใช้ในความหมายว่า ความเป็นแห่งพระอินทร์ แม้ว่าจะมีการลง ณิย ท้าย อินฺท ศัพท์ ก็จะไม่มีการแปลง ท เป็น ทฺร คงเป็นรูปว่า อินฺทิย ตามเดิม. ในที่นี้ยกพอเป็นแนวทางสังเกตคำว่า อินฺทฺริย เท่านั้น ส่วนรายละเอียดนอกจากนี้ที่เกี่ยวกับ ณิย ปัจจัยที่ลงท้าย อินฺท ศัพท์อีกมาก ผู้ปรารถนาความโดยพิสดาร พึงดูสัททนีติ สุตตมาลา สูตร ๗๖๓. อินฺทโต ลิงฺคสิฏฺฐเทสิตทิฏฺฐชุฏฺฐิสฺสริยตฺเถ จ.)

ขออนุโมทนา
สมภพ  สงวนพานิช

*************




[1] [ม. นิ. ๒.๑๐๙]
[2] [สํ. นิ. ๑.๑๕๘]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น