(ลบสระหลังจากนิคคหิต)
๒๙. ปรสรสฺสฯ
ท้ายนิคหิต
สระหลังลบได้บ้าง
นิคฺคหีตมฺหา
ปรสรสฺส กฺวจิ โลโป โหติ วาฯ
สระหลัง (คือ
สระหน้าตัวต้นของบทข้างหลัง) ซึ่งอยู่ท้ายนิคหิต ถูกลบในบางแห่ง, และบางตัวอย่างนั้น
ถูกลบไปก็มี ไม่ถูกลบก็มี เช่น
ตฺวํ + อสิ = ตฺวํสิ [เป. ว. ๔๗; ชา.
๒.๒๒.๗๖๔],
จนฺทํ อิว =
จนฺทํว วิมลํ สุทฺธํ [ธ. ป. ๔๑๓; สุ.
นิ. ๖๔๒],
จกฺกํ + อิว =
จกฺกํว วหโต ปทํ [ธ. ป. ๑],
หลํ + อิทานิ =
หลํทานิ ปกาสิตุํ [มหาว. ๘],
กึ + อิติ =
กินฺติ วเทยฺยํ,
จีวรํ + อิติ =
จีวรนฺติ,
ปตฺตํ + อิติ =
ปตฺตนฺติ,
ภิกฺขุ + อิติ = ภิกฺขุนฺติฯ[1]
อิติ สรโลปราสิฯ
กลุ่มว่าด้วยการลบสระ
เป็นอย่างนี้
[1]
ในสูตรนี้วาศัพท์ที่ตามมาจากสูตรว่า
๒๘.
น เทฺว วาฯ แสดงอุ.ที่สำเร็จโดยวิธีการของสูตรนี้บ้าง,
และ ไม่ทำบ้าง หรือ ทำด้วยวิธีการของสูตรอื่นบ้าง ดังนั้น อุ.ที่สำเร็จด้วยสูตรนี้ได้แน่นอน
ซึ่งเป็นผลของ กฺวจิ เช่น ตฺวํสิ, จนฺทํว,
จกฺกํว, หลํทานิ, จีวรนฺติ, ปตฺตนฺติ, ภิกฺขุนฺติฯ
อุ.เหล่านี้ ไม่แน่นอน ซึ่งเป็นผลของ วา ศัพท์
คัมภีรปโยคสิทธิแสดงอุทาหรณ์ที่ไม่แน่นอนด้วยวาศัพท์ไว้ดังนี้กตํ
+ อิติ = กตนฺติ, กตํ อิติ กึ + อิติ = กิมิติ, กินฺติทาตุ– + อปิ = ทาตุมฺปิ, ทาตุมปิ สทิสํ
+ เอว = สทิสํ ว, สทิสํว.
คัมภีร์ปทรูปสิทธิ แสดงว่า
วิธีการทีลบสระท้ายนิคคหิตนั้น (ด้วยสูตร ปโร วา สโร รู. ๕๕) ได้แก่ สระของ อิติ
อิว อิทานิ อสิ อปิ และเอว เป็นต้น ดังนั้น ในกรณีที่สระหลังไม่ใช่สระของ อิติ
เป็นต้น แต่เป็นของศัพท์อื่น เอตฺถ เป็นต้น ก็ไม่ใช่วิธีการที่มีในสูตรนี้เช่น อหํ
เอตฺถ, เอตํ อโหสิ.แต่ในกรณีนี้ไม่ได้แสดงไว้ในที่นี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น