#นิรุตติทีปนีแปลเพื่อศึกษาร่วมกัน๒๑
อัปปวิธาน :
รูปอุทาหรณ์เล็กน้อยมีใช้ไม่มาก.
กรณีที่ ๓ แปลง
อุ อู เป็น อิ และ โอ
๑). แปลง
อุ เป็น อิ
มาตุโต = มาติโต โดยมารดา
ปิตุโต = ปิติโต โดยบิดา
มาตุปกฺโข = มาติปกฺโข ข้างมารดา
ปิตุปกฺโข = ปิติปกฺโข ข้างบิดา
มาตุโฆ = มาติโฆ (ผู้ฆ่ามารดา)
ปิตุโฆ = ปิติโฆ (ผู้ฆ่าบิดา)
[ตัวอย่างเหล่านี้ สังเกตที่ อิ ของ มาติ และปิติ ที่กลายมาจาก อุ ของ มาตุ
และ ปิตุ ตามหลักการนี้.]
มาตุ
+ ณิก =
มตฺติกํ มาจากมารดา
มตฺติกํ ธนํ ทรัพย์มาจากมารดา
[มตฺติกํ แปลว่า ทรัพย์ที่มาจากมารดา ความหมายคือ ทรัพย์ข้างมารดา หรือ
ทรัพย์ที่เป็นของมารดา. มตฺติกํ คือ มาตุ > มาติโต + ณิก =
อาคต มาแล้ว. รูปนี้ แปลง อุ ที่ มาตุ เป็น มาติ ในหลักการนี้
แล้วลง ณิก ปัจจัย แทนคำว่า อาคต แล้วซ้อน ตฺ เป็น มาตฺติก รัสสะเป็น มตฺติก. (ดูสูตรที่
๔๖๕. ตโต สมฺภูตมาคตํ. และอรรถกถาพระวินัยว่า
(ปารา. อฏฺ ๑/๓๔) ทรัพย์ที่มาแล้ว
จากมารดา, ได้แก่ ทรัพย์ที่ยายให้แม่ติดตัวมาสู่บ้านสามี]
ปิตุ + ณิก
ธนํ = เปตฺติกํ มาจากบิดา
เปตฺติกํ ธนํ ทรัพย์มาจากบิดา
[แม้คำนี้ก็เหมือน มตฺติกํ ในแง่ของการสร้างรูปคำ.
ส่วนตัวอย่างการใช้ต่างกันตรงที่มาในพระบาฬี คือ
เป็นทรัพย์ส่วนรวมระหว่างของปู่และบิดาที่สะสมมาและทำให้เกิดขึ้นอีก. ดูปารา.
อฏฺ ๑/๓๔).]
๒). แปลง อุ
เป็น โอ เช่น
อปิ นุ ลจฺฉสิ
=
อปิ โน ลจฺฉสิ,
ท่านจักได้บ้างหรือ
กจฺจิ นุ
ตุมฺเห ยาเปถ = กจฺจิ โน ตุมฺเห ยาเปถ
ท่านได้ยังอัตตภาพให้เป็นไปได้หรือไม่
(ท่านยังไหวอยู่หรือ)
กถํ นุ ตุมฺเห
ยาเปถ = กถํ โน ตุมฺเห ยาเปถ,.
ท่านจะยังอัตตภาพให้เป็นไปได้อย่างไร
(ท่านจะดำรงชีพอย่างไร)
โสตุกามตฺถ นุ
ตุมฺเห ภิกฺขเว
= โสตุกามตฺถ โน ตุมฺเห ภิกฺขเว,
ภิกษุท.
พวกเธอเป็นผู้ต้องการสดับหรือไม่. (พวกเธออยากฟังไหม?)
น นุ สมํ
อตฺถิ = น โน สมํ อตฺถิ
สิ่งที่เสมอกันไม่มีแน่นอน
น หิ นุ สงฺกรนฺเตน
=
น หิ โน สงฺกรนฺเตน
เพราะไม่มีใครผู้จะสามารถผัดผ่อนมัจจุราชได้อย่างแน่นอน
นตฺถิ นุ โกจิ
ปริยาโย = นตฺถิ โน โกจิ ปริยาโย
ย่อมไม่มีบางสิ่งแน่นอน
[อุทาหรณ์เหล่านี้ สังเกตที่ อุ ของ นุ จะกลายเป็น โอ และเป็นรูปว่า โน
ด้วยหลักการนี้. เฉพาะ ๓ ตัวอย่างหลัง นุ เป็นเอกังสัตถนิบาต บอกความแน่นอน
ส่วนที่เหลือเป็นปุจฉนัตถนิบาต บอกการถาม.]
สุสิโต = โสสิโต ชุ่มฉ่ำดี (เย็นดีแล้ว)
สุตตฺโต = โสตตฺโต ร้อนดี (ร้อนดีแล้ว)
[สองอุทาหรณ์นี้ สังเกต อุ ที่สุ จะกลายเป็น โอ คือ โสสิโต และ โสตตฺโต.
โสสิโต
ความหมายด้วยคำอธิบายในที่นี้ คือ เย็นดีแล้ว สุฏฺฐุ สีตโล และ โสตตฺโต คือ ร้อนดีแล้วสุฏฺฐุ สนฺตตฺโต. รูปนี้มาในโลมหังสชาดก (ขุ.ชา. ๑/๙๔) และอรรถกถาชาดกอธิบายว่า
ที่ว่า ชุ่มฉ่ำดี คือ ชุ่มฉ่ำดีด้วยน้ำที่ละลายจากน้ำแข็ง (หิโมทเกน สุสิโต สุฏฺฐุ
ตินฺโต) ส่วน โสตตฺโต คือ แห้งดีด้วยความร้อนจากแสงแดด (สูริยสนฺตาเปน สุฏฺฐุ
ตตฺโต) ]
ชมฺพุนทํ = ชมฺโพนทํ คือ เกิดในแม่น้ำชัมพุ
[รูปนี้ตัดเป็น ชมฺพุ + นที = ชมฺโพนที + ณ ปัจจัย =
ชาตํ เกิดแล้ว. ในกรณีนี้ อุ
ของ ชมฺพุ เป็น โอ = ชมฺโพนทํ ตามหลักการนี้ก่อน แล้วจึงลงตัทธิตปัจจัย
มีวิ.ว่า ชมฺพุนทิยา ชาตํ ชมฺโพนทํฯ ชมฺโพนทํ คือ สิ่งที่เกิดในแม่น้ำ.
เมื่อลง ณ
ในอรรถชาต เกิดแล้ว ด้วยสูตร ๔๕๓. ตตฺร ภเว ลง ณปัจจัย ในอรรถมีในที่นั้น
(หรือลงด้วยสูตรรูปสิทธิว่า ๓๗๖. ณ ราคา เตนรตฺตํ
ตสฺเสทมญฺญตฺเถสุ จ ลง ณปัจจัยในอรรถย้อมด้วยสิ่งนั้น,ในอรรถนี้เป็นของสิ่งนั้น
และอื่นๆฯ แล้ว แทนที่จะเป็น ชมฺโพนที แต่เป็น ชมฺโพนท โดยจึงแปลง อิ ท้าย นทิ
เป็น อ ด้วยสูตรใหญ่ เหมือนที่กล่าวมาแล้ว]
------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น