วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๘๐. อุ อาคม

อุ
(สระ) อุ เป็นอาคม

ญาติปริชินสฺส ภาโว ญาติปาริชุญฺญํ, เอวํ โภคปาริชุญฺญํ- ปริชินสฺสาติ ปริหานสฺส, ปริกฺขยสฺสฯ
ตัวอย่าง

ปท
ปทจฺเฉท
คำแปลและอธิบายสังเขป
ญาติปาริชุญฺญํ
ญาติปาริช+อุ+ญฺญ
ญาติปริชินสฺส ภาโว ญาติปาริชุญฺญํ
ความเป็นแห่งบุคคลผู้เสื่อมญาติ ชื่อว่า ญาติปาริชุญฺญํ ความเสื่อมจากญาติ
โภคปาริชุญฺญํ

โภคปาริช+อุ+ญฺญ
ปริชินสฺสาติ ปริหานสฺส, ปริกฺขยสฺส
คำว่า โภคปาริชุญฺญํ แปลว่า ความเสื่อม ได้แก่ สิ้นไปแห่งโภคะ ก็มีรูปวิเคราะห์เหมือน ญาติปาริชุญฺญํ
ในที่นี้ คำว่า ปริชินสฺส หมายถึง ปริหานสฺส แปลว่า ผู้เสื่อม คือ เป็นผู้หมดสิ้นแล้ว


ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนี
ครั้งที่ ๘๐  : การลง อุ อาคม
การลงอุอาคม ทำได้ด้วยมหาสูตรเช่นกัน ตัวอย่างเช่น
ญาติปาริชุญฺญํ ความเสื่อมจากญาติ วิเคราะห์ว่า
ญาติปริชินสฺส ภาโว ญาติปาริชุญฺญํ
ความเป็นแห่งบุคคลผู้เสื่อมญาติ ชื่อว่า ญาติปาริชุญฺญํ ความเสื่อมจากญาติ

โภคปาริชุญฺญํ ความเสื่อมจากทรัพย์ วิเคราะห์ว่า
ปริชินสฺสาติ ปริหานสฺส, ปริกฺขยสฺส
คำว่า โภคปาริชุญฺญํ แปลว่า ความเสื่อม ได้แก่ สิ้นไปแห่งโภคะ ก็มีรูปวิเคราะห์เหมือน ญาติปาริชุญฺญํ

ญาติปาริชุญฺญํ = ญาติ + ปาริชุญฺญํ
ปาริชุญญํ ศัพท์เดิมมาจาก ปริ + ชิน เสื่อม+ ณฺย (ภาวสาธนะ หรือ ภาวตัทธิต ตามควรแก่มติของพระอรรถกถาจารย์และพระฎีกาจารย์) เมื่อลง ณฺย ปัจจัยท้าย ปริชิน. (ปริชิน หมายถึง ปริหาน แปลว่า ผู้เสื่อม คือ เป็นผู้หมดสิ้นแล้ว) ได้รูปเป็น ปาริชินย แปลง น เป็น ญฺ = ปาริชิญฺย ด้วยมหาสูตร (ดูวิธีการได้ในครั้งที่ ๔๙)  แปลง ย เป็น ญ ปุพพรูป เป็น ปาริชิญฺญ, ลง อุ อาคม ระหว่าง ปาริชิ และ ญฺญ ลบ อิ ข้างหน้า สำเร็จรูปเป็น ปาริชุญฺญ  แปลว่า ภาวะแห่งผู้เสื่อมจากญาติ ได้แก่  ความเสื่อมญาติ นั่นเอง
ปาริชุญฺญ มาในพระบาฬีรัฐปาลสูตร มัชฌิมปัณณาสก์ มัชฌิมนิกาย
๓๐๔. ‘‘จตฺตาริมานิ, โภ รฏฺฐปาล, ปาริชุญฺญานิ เยหิ ปาริชุญฺญานิ สมนฺนาคตา อิเธกจฺเจ เกสมสฺสุํ โอหาเรตฺวา กาสายานิ วตฺถานิ อจฺฉาเทตฺวา อคารสฺมา อนคาริยํ ปพฺพชนฺติฯ กตมานิ จตฺตาริ? ชราปาริชุญฺญานิ, พฺยาธิปาริชุญฺญานิ, โภคปาริชุญฺญานิ, ญาติปาริชุญฺญานิ ฯ (ป)
[๓๐๔]      “พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ ความเสื่อม ๔ ประการนี้ ที่คนบางพวกในโลกนี้ประสบเข้าแล้ว ย่อมโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ความเสื่อม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความเสื่อมเพราะชรา .ความเสื่อมเพราะความเจ็บไข้ ๓.ความเสื่อมจากทรัพย์สมบัติ          .ความเสื่อมจากญาติ
๓๐๔. ปาริชุญฺญานีติ ปาริชุญฺญภาวา ปริกฺขยาฯ (อ.)
๓๐๔. ปริชุญฺญานีติ ปริหานานิฯ (ฎี.)
คัมภีร์อรรถกถาและฎีกาของพระสูตรนี้ อธิบายว่า คำว่า ปาริชุญฺญานิ นี้เป็น ภาวสาธนะ โดยใช้คำพรรณนาที่ใช้ ภาวศัพท์ ประกอบดังนี้ว่า ปาริชุญฺญภาวา ปริกฺขยา  ความเสื่อม คือ ความสื้นไป (กฏการเขียนสังวัณณนามีว่า ถ้าบทตั้งเป็นนามกิตก์และบทขยายมีการใช้ภาวศัพท์ประกอบท้ายศัพท์ที่เป็นนามกิตก์หรือลงยุปัจจัย แสดงว่า บทตั้งเป็นภาวสาธนะ ในกรณีนี้ ณฺย ปัจจัย เป็นไปในกัมมสาธนะและภาวสาธนะ ดังนั้น การใช้ภาวศัพท์ลงท้ายนามกิตก์แสดงว่า ปาริชุญฺญ เป็นภาวสาธนะไม่ใช่กัมมสาธนะ)
แต่คัมภีร์นิรุตติทีปนีนี้ และแม้ของคัมภีร์อื่นๆ อธิบายเป็นภาวตัทธิต ก็ได้ เป็นนามกิตก์ภาวสาธนะ ก็มี เช่น
คัมภีร์สีลขันธวรรคฎีกา (สี.ฎี ๒) วิ.ว่า
ปริชิยนํ ปริหายนํ ปาริชุญฺญํ, ปริชิรตีติ วา ปริชิณฺโณ, ตสฺส ภาโว ปาริชุญฺญานิ, เตนฯ
ความเสื่อมชื่อว่า ปาริชุญฺญ, อีกนัยหนึ่ง สิ่งที่เสื่อมได้ ชื่อว่า ปริชิณฺโณ ความเป็นแห่งสิ่งที่เสื่อมได้นั้น ชื่อว่า ปาริชุญฺญ.
คัมภีร์ปาจิตตยาทิโยชนาแสดงว่า รูปนี้เป็นเพียงอีกปาฐะหนึ่ง ซึ่งในพระบาฬีไม่มีรูปที่ลง อุ อาคม และให้วิเคราะห์ว่า
๑๑๐. ปาริชญฺญปตฺตสฺสาติ ปริหายตีติ ปริชานิ, อิสฺสริยโภคาทิ, ตสฺส ภาโว ปาริชญฺญํ, อิสฺสริยโภคาทิกฺขโย, ตํ ปตฺโตติ ปาริชญฺญปตฺโต, ตสฺสฯ ‘‘ปาริชุญฺญานิ ปตฺตสฺสา’’ติปิ อุกาเรน สห ปาโฐ อตฺถิฯ
คำว่า ผู้ถึงความเสื่อม (ปาริชญฺญปตฺตสฺส) ความว่า สิ่งที่เสื่อมได้ ชื่อว่า ปริชานิ, ได้แก่ ความยิ่งใหญ่และโภคะเป็นต้น, ความเป็นแห่งสิ่งที่เสื่อมได้นั้น ชื่อว่า ปาริชญฺญ, ได้แก่ ความสิ้นไปแห่งสิ่งต่างๆมีความยิ่งใหญ่และโภคะเป็นต้น, ผู้ถึงความเสื่อมสิ้นไป ชื่อว่า ปาริชญฺญปตฺโต.  ข้อความหรือคำศัพท์ที่เป็นไปกับด้วย อุ ว่า ปาริชุญฺญานิ ปตฺตสฺส ดังนี้ ก็มี

สรุปว่า ปาริชุญฺญ แปลว่า ความเสื่อม มาจาก ปาริชิญฺญ ลง อุ อาคม กลางศัพท์ ด้วยมหาสูตร สำเร็จรูปเป็น ปาริชุญฺญ และเป็นศัพท์ที่เป็นภาวสาธนะ หรือ ภาวตัทธิตก็ได้ ตามความประสงค์ของพระอรรถกถาจารย์และฎีกาจารย์

ขออนุโมทนา

สมภพ สงวนพานิช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น