วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๓๙.แปลง โอ เป็น อุ - จบ สราเทสสนธิ

โอสฺส อุตฺตํ
กรณีที่ ๕.  แปลง โอ เป็น อุ
มนุญฺญํ = อารมณ์ที่ทำให้จิตใจยินดียิ่ง
ศัพท์นี้มาจาก มน ใจ+ [อา +ญา โตสน ยินดี] อญฺญ + อ ปัจจัย.  วิ.ว่า มนํ อาภุสํ ญาเปติ โตเสตีติ มนุญฺญํ สภาวะที่ยังใจให้ยินดีอย่างมาก ชื่อว่า มนุญญํ.
[มนศัพท์เมื่ออยู่กลางบทสมาสให้แปลงอท้ายศัพท์เป็น โอ จึงเป็น มโน + อญฺญ   และ แปลง โอ ของ มโน เป็น อุ ด้วยหลักการนี้.]

น เตนตฺถํ อพนฺธิ สุ
ผู้นั้น ไม่ได้รับประโยชน์ ด้วยคำโอวาทที่บัณฑิตให้ (อวาริยชาดก ขุ.ชา.  ฉักก. ๒๗/๖/๗)
โส เตน วจเนน อตฺถํ น อพนฺธิ น ลภีตฺยตฺโถฯ
[สุ ในทีนี้ มาจาก โส แปลง อุ เป็น โอ ด้วยหลักการนี้. อรรถกถาชาดก ฉักกนิบาต ข้อ ๗ อวาริยชาดก แสดงว่า มาจาก ส โอ. ส่วนคำว่า อพนฺธิ ตามศัพท์เดิมแปลว่า ได้ผูกพันแล้ว ซึ่งไม่เหมาะแก่อรรถดังนั้น คัมภีร์นี้อธิบายว่า อลภิ  ได้แล้ว. ส่วนฉบับสยามรัฐเป็น อวฑฺฒิตุํ เมื่อเป็นเช่นนี้ ต้องแปลว่า ไม่อาจให้เจริญขึ้น)]

อวฺหายนฺตุ สุ ยุทฺเธน
เขาเมื่อทำร้ายเราไม่ได้ด้วยคำให้ร้ายนั้น
[แม้ในกรณีนี้ก็เช่นกัน แปลง โอ ที่ โส เป็น อุ จึงมีรูปเป็น โส]

อปิ นุ หนุกา สนฺตา
ขากรรไกร (ปาก) ของพวกเราเมื่อยล้า
[กรณีนี้ นุ แปลง มาจาก  โน ที่เป็น อมฺห ศัพท์ + นํ ฉัฏฐีวิภัตติ นั่นเอง โดยแปลง โอ เป็น อุ ตามหลักการนี้ ไม่ใช่ นุ นิบาต ดังอรรถกถาชาดก (สมุททชาดกวณฺณนา ๑/๑๔๖) อธิบายว่า อปิ โน หนุกา สนฺตา ขากรรไกรของเราเมื่อยล้า คือลำบากโดยแน่แท้.]

*****


วิการสนฺธิปิ อาเทสสนฺธิรูปตฺตา อิธ สงฺคยฺหติฯ
ถึงวิการสนธิ (แปลงสระเป็นสระ) ก็รวมอยู่ในสราเทสสนธินี้ เพราะมีอุทาหรณ์เป็นสนธิแบบอาเทส.

อิติ สราเทสราสิฯ
กลุ่มวิธิการเข้าสนธิโดยอาเทสสระเป็นพยัญชนะ เป็นอย่างนี้.



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น