ลหุสญฺญาราสิ
กลุ่มแห่งลหุสัญญา[1]
โฌ, โล, โป, โฆ, โคฯ
ชื่อเหล่านี้
คือ ฌ ล ป ฆ และค. (ถูกตั้งไว้เพื่อใช้ในสูตรต่างๆ)
อิวัณณะและอุวัณณะ
ในที่สุดแห่งนามศัพท์ ชื่อว่า ฌ และ ล
อนิตฺถิลิงฺคสฺส
นามสฺส อนฺเต อิวณฺณุวณฺณา กเมน ฌลสญฺญา โหนฺติฯ
อิวัณณะและอุวัณณะ
อันมีในที่สุดแห่งนามศัพท์ที่ไม่ใช่อิตถีลิงค์ ชื่อว่า ฌ และ ล ตามลำดับ[3].
๑๐. ปิตฺถิยํ ฯ
อิวัณณะ และ อุ
วัณณา ในที่สุดแห่งนามศัพท์ ในอิตถีลิงค์ ชื่อ ป.
อิตฺถิลิงฺเค
นามสฺสนฺเต อิวณฺณุวณฺณา ปสญฺญา โหนฺติฯ
อิวัณณะและอุวัณณา
อันมีในที่สุดแห่งนามศัพท์อิตถีลิงค์ มีชื่อว่า ป.[4]
อา การันต์
ในอิตถีลิงค์ ชื่อ ฆ.
สูตรนี้มี ๒ บท
คือ โฆ และ อา. อาอักษร ในอิตถีลิงค์ มีชื่อว่า ฆ[5].
สิ (วิภัตติ)
ในอาลปนะ ชื่อ ค.
อาลปเน
สิ คสญฺโญ โหติฯ
สิ วิภัตติ
(อันเป็นไปในอรรถว่า) อาลปนะ มีชื่อว่า ค.
ลหุสญฺญาราสิ
นิฏฺฐิโตฯ
กลุ่มลหุสัญญา
จบ.
[1] ลหุสัญญา
เป็นชื่อไม่มีรูปวิเคราะห์ ใช้แทนครุสัญญาที่ได้ตั้งชื่อไปแล้ว
เพื่อการกล่าวสูตรต่อไปสั้นให้ขึ้น มีความเบา คือ กระทัดรัด ต่างกับชื่อว่า สร
พฺยญฺชน เป็นต้น เรียกว่า ครุสัญญา เพราะมีความหนัก คือ ใหญ่ด้วยวิเคราะห์.
[2] [อิยุวณฺณา ฌลา ฯ พหูสุ)],
[3] อิ
อี การันต์และ อุ อู การันต์ ในสองลิงค์ คือ ปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์ ชื่อว่า ฌ และ
ล ตามลำดับ. บทว่า อนิตฺถิลิงฺค คือ ไม่ใช่อิตถีลิงค์ เพิ่มเข้ามา
เพราะในสูตรต่อไปมีคำว่า อิตฺถิยํ ในอิตถีลิงค์. [ดูคัมภีร์อื่นๆ
เพิ่มเติม ก. ๕๘; รู. ๒๙; นี. ๒๐๕]
[4] สูตรนี้แสดงการตั้งชื่อ
อิ อี อุ อู การันต์ในอิตถีลิงค์ว่า ป. (ดูคัมภีร์ ก.๕๙;รู.๑๘๒;
นี. ๒๐๖ เพิ่มเติม.).
[5] อาการันต์ในอิตถีงลิงค์
ชื่อว่า ฆ.[ก. ๖๐; รู. ๑๗๗; นี. ๒๐๗]
[6] [ก. ๕๗; รู. ๗๑; นี. ๒๑๔]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น