อกฺขรวฑฺฒิปิ
โหติ –
เอกจฺจิโย
เอกจฺเจยฺโย เอกจฺโจ, มาติโย มจฺโจ, กิจฺจยํ
กิจฺจํ, ปณฺฑิติยํ ปณฺฑิจฺจํ, สุวามิ
สามิ, สุวามินิ สามินิ, สุวเกหิ
ปุตฺเตหิ สเกหิ ปุตฺเตหิ, สตฺตโว สตฺโต, ตฺวญฺจ อุตฺตมสตฺตโว[๑], เอวํ อุตฺตมสตฺตโว[๒] อิจฺจาทิฯ
แม้การเพิ่มอักษร
ก็ทำด้วยมหาสูตรเช่นกัน
ปท
|
ปทจฺเฉท
|
คำแปลและอธิบายสังเขป
|
เอกจฺจิโย
เอกจฺเจยฺโย
|
เอกจฺโจ
|
บางเหล่า
|
มาติโย
|
มจฺโจ
|
บุคคลที่จะพึงตายเป็นธรรมดา
|
กิจฺจยํ
|
กิจฺจํ
|
กิจ, สิ่งอันควรทำ
|
ปณฺฑิติยํ
|
ปณฺฑิจฺจํ
|
ความเป็นบัณฑิต
|
สุวามิ
|
สามิ
|
นาย
|
สุวามินิ[๓]
|
สามินิ
|
นายหญิง
|
สุวเกหิ ปุตฺเตหิ
|
สเกหิ ปุตฺเตหิ
|
ของตน เช่น
สเกหิ ปุตฺเตหิ ด้วยบุตรของตน
|
สตฺตโว
|
สตฺโต
|
สัตว์, บุคคล เช่น
ตฺวญฺจ อุตฺตมสตฺตโว
อนึ่ง ท่านเป็นอุดมบุคคล
เอวํ อุตฺตมสตฺตโว
อุดมบุคคล ย่อมเป็นเช่นนั้น,
|
อิติ
มิสฺสกาเทสราสิฯ
จบ มิสสกาเทส
คือ การแปลงอักษรแบบคละกัน
ครั้งที่ ๖๓ : มิสสกาเทส การแปลงอักษรที่คละกัน
“การเพิ่มพยางค์”
นอกจากการลดพยางค์แล้ว
บางศัพท์ยังมีการเพิ่มพยางค์ เช่น
เอกจฺจิโย, เอกจฺเจยฺโย = เอกจฺโจ
บางเหล่า
มาติโย
= มจฺโจ บุคคลที่จะพึงตายเป็นธรรมดา
กิจฺจยํ
= กิจฺจํ กิจ,
สิ่งอันควรทำ
ปณฺฑิติยํ
= ปณฺฑิจฺจํ ความเป็นบัณฑิต
สุวามิ
= สามิ นาย
สุวามินิ[๔]
= สามินิ นายหญิง
สุวเกหิ ปุตฺเตหิ = สเกหิ ปุตฺเตหิ ของตน เช่น
สเกหิ ปุตฺเตหิ
ด้วยบุตรของตน
สตฺตโว = สตฺโต สัตว์, บุคคล เช่น
ตฺวญฺจ
อุตฺตมสตฺตโว
อนึ่ง
ท่านเป็นอุดมบุคคล
เอวํ
อุตฺตมสตฺตโว
อุดมบุคคล
ย่อมเป็นเช่นนั้น,
ทั้งการลดและเพิ่มพยางค์
ท่านถือว่าเป็นการเข้าสนธิระหว่างประเภทหนึ่ง โดยไม่ใช่ปทสนธิ กล่าวคือ
ไม่ได้เชื่อมกันระหว่างบทกับบท แต่เป็นวัณณสนธิ การเชื่อมระหว่างอักษรภายในบท
ดังนั้น แม้มิสสกาสนธิ คือ การแปลงอักษรที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้
ก็คงจัดเป็นวัณณสนธินั่นเอง.
เป็นอันจบมิสสกาเทสสนธิ
ไว้แต่เพียงเท่านี้
ขออนุโมทนา
สมภพ
สงวนพานิช
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น