ภทฺรํ
ภทฺทํ,
อสฺโส ภทฺโร[1], สทา ภทฺรานิ ปสฺสติ[2], สพฺเพ ภทฺรานิ ปสฺสนฺตุ[3], ภทฺรานิ ภทฺรานิ ยานานิ โยเชตฺวา[4],
ลุทฺรํ[5] ลุทฺทํฯ
ทฺร เป็น อาเทส
ของ ทฺท เช่น
ปท
|
ปทจฺเฉท
|
คำแปลและอธิบายสังเขป
|
ภทฺรํ
|
ภทฺทํ
|
ใช้ในรูปเดิมว่า ภทฺทํ ก็มี
(ความหรือสิ่ง) เจริญ, งาม, ดี
|
อสฺโส ภทฺโร
|
ภทฺโท
|
ม้าชั้นดี (ม้าอาชาไนย)
|
สทา ภทฺรานิ ปสฺสติ
|
ภทฺทานิ
|
คนดีย่อมประสบความดีงามเสมอ
|
สพฺเพ ภทฺรานิ ปสฺสนฺตุ
|
ภทฺทานิ
|
ขอสรรพสัตว์จงประสบสิ่งดีงาม
|
ภทฺรานิ ภทฺรานิ
ยานานิ โยเชตฺวา
|
ภทฺทานิ
|
สั่งให้ประกอบรถชั้นดี
(คันใหญ่)
|
ลุทฺรํ
|
ลุทฺทํ
|
ใช้ในรูปเดิมว่า ลุทฺทํ ก็มี
๑. อันทารุณ โหดร้าย, ๒. นายพราน
ลุทฺทก
|
ครั้งที่ ๕๙ : มิสสกาเทส การแปลงอักษรที่คละกัน
แปลง ทฺท เป็น
ทฺร
เมื่อคราวที่แล้วมาเป็นการแปลง
ท เป็น ทฺร คราวนี้จะเป็นการแปลง ทฺท เป็น ทฺร บ้าง. ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ ภทฺร ที่กลายมาจาก
ภทฺท โดยแปลง ทฺท เป็น ทฺร
ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ภทฺรํ = ภทฺทํ (ความหรือสิ่ง) เจริญ,
งาม, ดีใ ช้ในรูปเดิมว่า ภทฺทํ ก็มี
อสฺโส ภทฺโร =
ภทฺโท ม้าชั้นดี (ม้าอาชาไนย)
สทา ภทฺรานิ =
ภทฺทานิ ปสฺสติ
คนดีย่อมประสบความดีงามเสมอ
สพฺเพ ภทฺรานิ
ปสฺสนฺตุ ภทฺทานิ
ขอสรรพสัตว์จงประสบสิ่งดีงาม
ลุทฺรํ ลุทฺทํ ทารุณ,
โหดร้าย ใช้ในรูปเดิมว่า ลุทฺทํ ก็มี
ภทฺรานิ ภทฺรานิ
ยานานิ โยเชตฺวา ภทฺทานิ สั่งให้ประกอบรถชั้นดี
(คันใหญ่)
รถชั้นดี
อรรถกถามัชฌิมนิกาย กล่าวถึงรถ ๒ ประเภทคือ โยธรถ ได้แก่ รถศึก สัณฐาน ๔ เหลี่ยม
ไม่ใหญ่มาก จุคนได้ ๒ หรือ ๓ คน ชนิดหนึ่ง, อลังการรถ รถประดับ ใหญ่ ยาว และกว้าง
จุคนได้ ๘-๑๐ คน สามารถยืน นั่งหรือนอนไปบนรถได้สบาย ชนิดนหนึ่ง. ยานชั้นดี
กล่าวคือ คันงาม คงได้แก่ รถขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า
อลังการรถตามที่อรรถกถานี้ระบุไว้.
ท่านสาธุชนทั้งหลาย
ภทฺร ศัพท์ ที่แท้ก็คือ ภทฺท ศัพท์นั่นเอง ที่แปลง ทฺท เป็น ทฺร
ขออนุโมทนา
สมภพ สงวนพานิช.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น