การใช้บทซ้ำ
ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนี
ครั้งที่ ๙๙ : ทวิภาวสนธิ ปทวากยทวิตตะ / วิจฉา (๑)
*** ดูคัมภีร์นิรุตติทีปนี แปล ***
http://niruttitepanee.blogspot.com/2016/05/blog-post_37.html
*** ดูคัมภีร์นิรุตติทีปนี แปล ***
http://niruttitepanee.blogspot.com/2016/05/blog-post_37.html
ในภาษาบาฬีมิได้จำกัดเฉพาะพยัญชนะเท่านั้น
แม้บทและประโยค ก็สามารถนำมาซ้อนเพื่อแสดงความประสงค์ต่างๆของผู้กล่าว
ดังได้กล่าวมาแล้วว่า การซ้อน มี ๓ ชนิด. คือ
๑.
ซ้อนพยัญชนะ เช่น
ปกฺกโม
พากเพียร
๒. ซ้อนบทที่มีวิภัตติเป็นที่สุด
(ลงวิภัตติแล้ว) เช่น
รุกฺขํ รุกฺขํ
สิญฺจติ
รดน้ำต้นไม้ทุกต้น.
๓.
ซ้อนพยัญชนะต้นธาตุ เช่น
ติติกฺขา
ความอดกลั้น
ติกิจฺฉา
ความรักษา
ชคมา
เขาไปแล้ว
ชคมุ
เขาไปแล้ว
ต่อไปนี้จะได้แสดงการซ้อนบทต่อจากการซ้อนพยัญชนะ
บทและประโยคที่ถูกกล่าวแบบซ้ำๆ
แม้จะมิได้นำมาใช้ตามวัตถุประสงค์ของการทำสนธิก็จริง แต่ ก็จำต้องกล่าวถึง
เพราะสงเคราะห์ได้ในการเพิ่มกลุ่มอักษรเป็นสองนั่นเอง.
คัมภีร์นิรุตติทีปนีแสดงหลักการของการซ้อนบทและประโยคโดยสังเขป
ตามที่ได้แสดงไว้ในคัมภีร์โมคคัลลานไวยากรณ์
ส่วนคัมภีร์สัททนีติแสดงเรื่องนี้โดยละเอียด ท่านสาธุชนครั้นได้ศึกษาหลักการพื้นฐานจากที่แล้วสามารถศึกษาข้อมูลได้ในคัมภีร์สัททนีติสืบไป
การใช้บทซ้ำมีใช้ใน
๔ กรณี คือ
วิจฉา หมายถึง
การกระจายความหมายที่ตนพูดไปยังวัตถุต่างๆที่เกี่ยวข้องในประโยคคำพูดนั้น
อภิกขัญญะ
หมายถึง การทำบ่อยๆ ซ้ำซาก.
วีติหาระ
หมายถึง การไม่ทิ้งจากกัน กล่าวคือ การควบกัน
สัมภมะ
หมายถึง การพูดซ้ำๆกัน จนกว่าจะมีความหมายปรากฏหรือผู้พูดจะพอใจ
********
จะกล่าวถึง
วิจฉา ก่อน.
คัมภีร์นิรุตติทีปนีแสดงความหมายและหลักการใช้วิจฉาไว้ด้วยสูตรนี้ว่า
หลักการ
:
สูตรกำกับวิธีการ
๕๕.
วิจฺฉาภิกฺขญฺเญสุ เทฺว.
ทำบทซ้ำ
ในอรรถวิจฉา (แผ่ไป) และ อภิกขัญญะ (การทำบ่อย, ซ้ำๆ)
หลักเกณฑ์ : ข้อกำหนดของสูตรและคำอธิบายอย่างสังเขป
คำว่า วิจฉา
คือ ความปรารถนาเพื่อจะเอากิริยาการกระทำ คุณสมบัติ หรือทัพพะ (ทัพพะ คือ
วัตถุสิ่งของอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ไม่ใช่กิริยาการกระทำและคุณสมบัติ) กระจายเข้าไปในสิ่งต่างๆ
ทุกสิ่งอย่างทั่วถึง. กล่าวง่ายๆว่า ในสิ่งหลายสิ่ง ทุกๆสิ่ง จะมีกิริยา คุณสมบัติ
หรือทัพพะ อย่างใดอย่างหนึ่ง เข้าถึงอย่างทั่วถึง.
ในกรณีที่จะแสดงวิจฉากล่าวคือการแผ่กระจายกิริยาเป็นต้นนี้
บทที่จะถูกแผ่เข้าไปโดยกิริยาเป็นต้นนั้นนั่นแหละ ถูกซ้อนขึ้นเป็นสองบท และบทที่จะถูกแผ่ไปนั้น
ต้องไม่ใช่เป็นสิ่งเดียวกัน.
หลักการใช้ : อุทาหรณ์ของสูตร
การทำบทซ้ำ
จะมีลักษณะเช่นนี้
รุกฺขํ รุกฺขํ
สิญฺจติ รดน้ำทุกต้น
ตัวอย่างนี้แสดงว่า
ต้นไม้มีหลายต้น และแต่ละต้น ถูกรดน้ำ. ต้นไม้ต้นนี้ ก็ไม่ใช่ต้นนั้น ถึงแม้ใช้บทเหมือนกันว่า
รุกฺขํ ก็ตาม. กรณีนี้ ผู้พูดต้องการแสดงความหมายว่า ต้นไม้ทุกต้นที่ไม่ใช่ต้นเดียวกัน
มีกิริยาการรดน้ำแผ่ไป คือถูกรดน้ำเหมือนกันโดยทั่วทุกต้น จึงพูดซ้ำกันสองครั้งว่า
รุกฺขํ รุกฺขํ.
คาโม คาโม
รมณิโย
ทุกๆบ้าน
น่ายินดี
ตัวอย่างนี้แสดงว่า
บ้านแต่ละหลังที่ไม่ใช่หลังเดียวกัน ล้วนมีความน่ายินดี. ความน่ายินดี
จัดเป็นคุณสมบัติ ดังนั้น
ผู้พูดมีความประสงค์จะให้ความน่ายินดีกระจายเข้าไปทุกๆบ้าน. บ้านจึงเป็นที่ถูกคุณคือความยินดีแผ่เข้าไป
จึงถูกกล่าวซ้ำสองครั้งว่า คาโม คาโม.
คาเม คาเม
สตํกุมฺภา
ในทุกๆบ้าน
มีหม้อน้ำ ๑๐๐ ใบ
ตัวอย่างนี้แสดงว่า
บ้านแต่ละหลังที่ไม่ใช่หลังเดียวกัน ล้วนมีหม้อน้ำ ๑๐๐ ใบ. หม้อน้ำ จัดเป็นทัพพะ
คือวัตถุสิ่งของ ที่จะแผ่หรือปรากฏอยู่ในบ้านทุกหลังๆ ดังนั้น
บ้านทุกหลังจึงเป็นที่ประสงค์จะให้ทัพพะคือหม้อน้ำแผ่เข้าไปปรากฏ ของผู้พูด
จึงถูกกล่าวซ้ำเป็นสองครั้งว่า คาเม คาเม
ในตัวอย่างอื่นๆ
ก็มีนัยนี้ คือ
เคเห เคเห
อิสฺสโร
ผู้ใหญ่ในแต่ละบ้าน
รสํ รสํ
ภกฺขยติ
ย่อมเคี้ยวกิน
ทุกๆรส (รส ได้แก่ น้ำในอาหารวัตถุมีผลไม้เป็นต้น มิใช่รสารมณ์),
กฺริยํ กฺริยํ
อารภเต
ทุกๆการกระทำ
ย่อมถูกปรารภ
------------------
นี่คือความหมายของคำว่า
วิจฉา ความปรารถนาเพื่อแผ่ไป
และตัวอย่างการใช้บทซ้ำกันที่สื่อถึงบทที่มีความหมายว่า วิจฉา นั้น.
ในคราวหน้าจะนำการใช้วิจฉาอีกลักษณะหนึ่งมานำเสนอ.
ขออนุโมทนา
สมภพ
สงวนพานิช
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น