วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ครั้งที่ ๙๔ : ทวิภาวสนธิ

ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนี
ครั้งที่ ๙๔ : ทวิภาวสนธิ

ฐานะอันควรซ้อนได้ ลำดับที่ ๒
๒) พยัญชนะต้นของธาตุเหล่านี้ คือ กี กุธ, กมุ, กุส, คห, ชุต, ญา, สิ, สุ, สมฺภุ, สร, สส  -
๒.๑ กีธาตุ เช่น
วิกฺกินาติ =  ย่อมขาย
วิกฺกโย =การซื้อขาย
ธนกฺกีโต = ผู้ที่ถูกซื้อมาด้วยทรัพย์

๒.๒ กุธ ธาตุ เช่น
อกฺกุทฺโธ = ผู้ไม่โกรธ
อกฺโกโธ = ความไม่โกรธ

๒.๓ กมุ ธาตุ เช่น
อภิกฺกมติ = ก้าวไป
อภิกฺกโม = การก้าวไป
อภิกฺกนฺโต =  ก้าวไปอยู่
อกฺกมติ = ย่อมเหยียบ
อกฺกโม = การเหยียบ
อกฺกนฺโต = เหยียบ
ปรกฺกมติ = ย่อมพากเพียร บากบั่น
ปรกฺกโม = ความบากบั่น
วิกฺกมติ = ย่อมกล้าหาญ
วิกฺกโม = ความกล้าหาญ
โอกฺกมติ = ย่อมหยั่งลง
โอกฺกนฺโต = หยั่งลงแล้ว

กุส ธาตุ เช่น
อกฺโกสติ = ย่อมด่า
อกฺโกโส = การด่า

๒.๔ คห
ปคฺคณฺหาติ = ย่อมประคอง
ปคฺคโห = การประคอง
วิคฺคโห = การวิเคราะห์, รูปวิเคราะห์
ปริคฺคโห = การกำหนด
อนุคฺคโห = การช่วยเหลือ

๒.๕ ชุต ธาตุ เช่น
อุชฺโชตติ = ย่อมรุ่งเรือง
วิชฺโชตติ = ย่อมส่องสว่าง

๒.๖ ญา ธาตุ เช่น
อญฺญา = รู้ยิ่ง
ปญฺญา = ปัญญา
อภิญฺญา = รู้ยิ่ง
ปริญฺญา = กำหนดรู้
วิญฺญาณํ = วิญญาณ
สพฺพญฺญุตญฺญาณํ = พระญาณอันรู้ทุกสิ่ง
รตฺตญฺญู = ผู้รู้ราตรีนาน
อตฺถญฺญู = ผู้รู้อรรถ
ธมฺมญฺญู = ผู้รู้ธรรม

๒.๗ สิ ธาตุ เช่น
อติสฺสโย = พิเศษ
ภูมสฺสิโต= ผู้นอนบนแผ่นดิน
เคหสฺสิโต = ผู้อาศัยเรือน

๒.๘ สุ ธาตุ เช่น
อปฺปสฺสุโต = มีสุตะน้อย (ความรู้น้อย)
พหุสฺสุโต = มีสุตะมาก
วิสฺสุโต =  รู้จักดี (มีชื่อเสียง)
อสฺสโว = ไหลไป  
อนสฺสโว = ไม่ไหลไป

๒.๙ สมฺภุธาตุ เช่น
ปสฺสมฺภติ = ย่อมระงับ
ปสฺสทฺธิ = ความสงบระงับ
ปสฺสทฺโธ = ผู้สงบระงับแล้ว

๒.๑๐ สร ธาตุ เช่น
อนุสฺสรติ = ย่อมระลึก
อนุสฺสติ = การระลึก
อนุสฺสโร = การระลึก

๒.๑๑ สส ธาตุ เช่น
อสฺสสติ = ย่อมหายใจเข้า
อสฺสสนฺโต =  เมื่อหายใจเข้า
อสฺสาโส = ลมหายใจเข้า
ปสฺสาโส = ลมหายใจออก

๒.๑๒ สช ธาตุ เช่น
วิสฺสชฺเชติ = ย่อมสละ
วิสฺสชฺชนฺโต= เมื่อสละ
วิสฺสคฺโค = การสละ

๒.๑๓ จช ธาตุ เช่น
ปริจฺจชติ = ย่อมสละ
ปริจฺจชนฺโต = เมื่อสละ
ปริจฺจาโค =  การสละ

----

ขออนุโมทนา
สมภพ สงวนพานิช


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น