ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนี
ครั้งที่ ๙๕ :
ทวิภาวสนธิ
ฐานะอันควรซ้อนได้
ลำดับที่ ๓
๓)
พยัญชนะต้นของบทที่มี อุ, ทุ และนิอุปสัคเป็นบทหน้า เป็นตัวซ้อน
๓.๑
พยัญชนะต้นของธาตุที่มี อุ เป็นบทหน้า เช่น
อุกฺกํสติ, ย่อมยกย่อง
อุกฺกํโส, การยกย่อง
อุคฺคโห, การยกขึ้น, การเล่าเรียน
อุจฺจาเรติ, ย่อมออกเสียง
อุจฺจาโร, การออกเสียง
อุจฺจโย, สะสม
สมุจฺจโย, สะสม
อุชฺชโล, โชติช่วง
สมุชฺชโล, โชติช่วงขึ้น
อุณฺณมติ, ย่อมฟูขึ้น
๓.๒
พยัญชนะต้นของธาตุที่มี ทุ เป็นบทหน้า เช่น
ทุกฺกฏํ, กรรมชั่ว
ทุกฺกรํ, ทำได้ยาก
ทุคฺคติ, ทุคติ
ทุจฺจริตํ, ประพฤติชั่ว
ทุตฺตโร, ข้ามได้ยาก
ทุทฺทโม, ฝึกยาก
ทุนฺนโย, รู้ยาก, นำไปได้ยาก
ทุปฺโปโส, เลี้ยงยาก
ทุพฺพโล, อ่อนแอ, ทรามกำลัง
ทุมฺมคฺโค, ทางผิด
ทุลฺลโภ หาได้ยาก
๓.๓
พยัญชนะต้นของธาตุที่มี นิ เป็นบทหน้า เช่น
นิกฺกโม, ก้าวออก
นิกฺขนฺโต, ออกไปอยู่
นิคฺคโต, ออกไปแล้ว
นิจฺโจโร, ไม่มีโจร
นิชฺชโร, ความเสื่อมโทรม, ปฏิปทาเครื่องทำลายกิเลส ได้แก่ มรรค, เทวดา
นิทฺโทโส, ความไม่มีโทษ
นิปฺปาโป, ไม่มีบาป
นิมฺมิโต,หลับตา
นิมฺมาโน, หมดมานะ
นิยฺยานํ, นำออก
นิลฺโลโล, ไม่โลเล, มั่นคง
นิพฺพานํ, นิพพาน
นิสฺสโย ที่พึง
ขออนุโมทนา
สมภพ สงวนพานิช
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น