วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2559

๘๙ วอาคม

ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนี
ครั้งที่ ๘๙  : พยัญชนอาคม : การลง ว อาคม
คัมภีร์นิรุตติทีปนีแสดงการลง ว เป็นพยัญชนอาคมไว้ด้วยหลักการของสูตรว่า
๕๐ วนตรคา จาคมา
เพราะสระอันเป็นเบื้องหลัง พยัญชนะเหล่านี้ คือ ว, น, ต, ร, ค (กลุ่มหนึ่ง), และ ย ท (อีกกลุ่มหนึ่ง) เป็นอักษรอาคม.
ตัวอย่างการใช้ ว อาคม ดังต่อไปนี้
ทุวงฺคุลํ, = ทุ + องฺคุลํ
= สองนิ้ว

ทุวงฺคิกํ,=ทุ + องฺคิกํ
=มีองค์สอง

ติวงฺคุลํ,=ติ + องฺคุลํ
=สามนิ้ว

ติวงฺคิกํ,=ติ + องฺคิกํ
=มีองค์สาม

ปาคุญฺญวุชุตา,=ปาคุญฺญ + อุชุตา
=ความคล่องแคล่วและความตรง

อาสนา วุฏฺฐาติ=อาสนา อุฏฺฐาติ (อุ + ฐา ยืน + ติ)
=ลุกขึ้นจากอาสนะ

วุฏฺฐานํ,=อุฏฺฐานํ
=การออก (อุ + ฐา + ยุ)

วุฏฺฐหิตฺวา = อุฏฺฐหิตฺวา
=ออกแล้ว,
ในสามรูปนี้ ลง ว อาคมหน้า อุฏฺฐาติ, อุฏฺฐานํ, อุฏฺฐหิตฺวา เป็น วุฏฺฐาติ, วุฏฺฐานํ และ วุฏฺฐหิตฺวา

วุสิตํ,= อุสิตํ (วส  + ต )
=อยู่แล้ว
          รูปนี้มาจาก วส  แปลง ว เป็น อุ แล้วลง อาคมคือว นี้อีก จึงเป็น วุสิตํ. วิธีการนี้สอดคล้องกับคัมภีร์ปทรูปสิทธิสูตรที่ วสฺส วา วุ (๖๑๔) ที่กล่าวว่า แปลง ว ที่ วส เป็น อุ (อุส) แล้วมีการลง ว อาคม

วุตฺตํ,= อุตฺตํ (อุตฺตํ กล่าว + ต)
=กล่าวแล้ว

วุจฺจเต,=อุจฺจเต
=อันเขาย่อมกล่าว

คัมภีร์ปทรูปสิทธิกล่าวว่า รูปนี้มาจาก วจ ธาตุ และ ลง ย ปัจจัย (ที่กล่าวภาวะและกรรม) แปลง ว ของ วจ เป็น อุ เป็น อุจฺจเต อีกนัยหนึ่ง แปลง อ ของ ว เป็น อุ จึงเป็น วุจฺจเต (สูตรที่ ๔๗๘. วจวสวหาทีนมุกาโร วสฺส เย). แม้ท่านก็จะกล่าวไว้เองในตอนว่า การสำเร็จรูปของ วจธาตุ (อาขยาตราสิ) และ สูตรว่า ๗๓๒. อสฺสุฯ แปลง อ ของ วจธาตุเป็นต้น เป็น อ ในเพราะตปัจจัยที่ไม่ใช่ตฺวา
ดังนั้น รูปว่า วุจฺจเต และ วุตฺตํ มิได้มาจาก อุจฺจเตและ อุตฺตํ   แล้วลง ว อาคม.  ส่วนรูปว่า อุจฺจเต อุตฺตํ ไม่มีใช้ แต่มาจากการกลายเสียงจาก ว เป็น อุ โดยที่ต้องมีนิเป็นบทหน้าและมีรอาคม เช่น นิรุตฺตํ
เรื่องนี้ชวนคิดว่า เมื่อแปลง ว เป็น อุ แล้วลง ว อาคมอีกทีหนึ่ง เหมือนรูปว่า วุสิตํ ก็จะสมกับคำอธิบายของท่าน. อีกอย่างหนึ่ง สัททนีติให้แนวคิดว่า ครูทั้งหลาย (คือ มติกัจจายนไวยากรณ์และรูปสิทธิ ที่ให้แปลง ว เป็น อุ ด้วยสูตรดังกล่าวมาแล้วข้างต้น) ประสงค์เอา การแปลง ว เป็น อุ ในตัวอย่างว่า อุตฺตํ อุจฺจเต อุจฺจนฺเต. วิธีการนี้มีใช้น้อยในศาสนา (ในพระบาฬี) ซึ่งอนุโลมตามหลักภาษาสันสกฤต.
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ข้าพเจ้ายังลังเลและคิดไม่ตกว่าจะใช่วิธีนี้หรือไม่.

ขออนุโมทนา
สมภพ สงวนพานิช

-------

บันทึกเกี่ยวกับ การลง ว อาคมของศัพท์ต่อไปนี้
ก. วุตฺตํ,=อุตฺตํ (อุจ + ต=กล่าวแล้ว) 
ข.วุจฺจเต,=อุจฺจเต =อันเขาย่อมกล่าว
๒ รูปนี้ มาจาก วจธาตุ หรือ อุจ + ว อาคม กันแน่?

 เมื่อว่าตามคัมภีร์นิรุตติทีปนี ท่านบอกว่า มาจาก อุจ ธาตุ แล้วลง ว อาคม. แต่คัมภีร์สัททนีติ ธาตุมาลา ท่านแสดงไว้ในนิทเทสแห่ง วจ ธาตุ ดังนี้
(๑) ครู ปน การสฺส อุการาเทสวเสน ‘‘อุตฺตํ อุจฺจเต อุจฺจนฺเต’’ติอาทีนิ อิจฺฉนฺติ, ตานิ สาสเน อปฺปสิทฺธานิ, สกฺกฏภาสานุโลมานิฯ สาสนสฺมิญฺหิ การาคมวิสเย นิปุพฺพสฺเสว วจสฺส สฺส อุการาเทโส สิทฺโธ ‘‘นิรุตฺติ, นิรุตฺตํ, เนรุตฺต’’นฺติฯ  (นีติ.ธาตุ. วจธาตุนิทฺเทส)

(๒) [วุจฺจติ กับ อุจฺจเต, อุตฺตํ]
ตถา วุจฺจติ อิติ มาคธิกา ภาสา,อุจฺจเต อุตฺตํ อิติ จ สกฺกฏภาสาโต นยํ คเหตฺวา วุตฺตวจนํ, อิจฺเจวมาทิ.
เช่นเดียวกันนี้ คำว่า "วุจฺจติ" เป็นภาษามคธ, ส่วนคำว่า "อุจฺจเต" และ คำว่า "อุตฺตํ" เป็นคำที่นำมาใช้โดยยึดตามแบบภาษาสันสกฤต.  

อญฺโญปิ สทฺทเภโท อุปปริกฺขิตพฺโพ.
นักศึกษา พึงตรวจสอบประเภทของศัพท์อื่นๆ ด้วย.

นอกจากนี้ ในสุตตมาลาท่านแสดงไว้ว่า อุตฺตํ , อุจฺจเต ที่มาจาก อุจ ธาตุ ไม่มีที่ใช้ในพระบาฬี..

----

ปริยตฺติสาสเน อาหริตฺวา วุตฺตานํ อมาคธิกานํ อญฺเญสํ สทฺทานํ วิโสธนตฺถํ อยมฺปิ ปเนตฺถ นีติ สาธุกํ มนสิกาตพฺพา. กถํ ?
อนึ่ง เพื่อชำระคำศัพท์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ภาษามคธ ซึ่งท่านนำมากล่าวไว้ในพระปริยัติศาสนา นักศึกษา จึงควรใส่ใจต่อหลักการที่จะแสดงต่อไปนี้ให้ดีด้วย
”นาถตีติ นาโถติอาทีสุ นาถตีติอาทีนิ กฺริยาปทานิ เจว “ภาสิตา โสธนญฺจโยติอาทีนิ จ อภิธานานิ ปาฬิยํ อนาคตานิปิ มาคธิกา ภาสา เอว,ตานิ หิ ปาฬิยํ อนาคตตฺตา เอว น ทิสฺสนฺติ, น จ อวตฺตพฺพภาเวน.
บทกิริยาเป็นต้นว่า นาถติ ในข้อความว่า "นาถตีติ นาโถ" ก็ดี คำนามที่แสดงชื่อ ทั้งหลาย เช่น ภาสิตา โสธนญฺจโย เป็นต้นก็ดี ถึงจะไม่ปรากฏในพระบาลี แต่ก็จัดเป็นภาษามคธอย่างแน่นอน. อันที่จริงบทเหล่านั้นไม่ปรากฏ เพราะไม่มีใช้ในพระบาลีเท่านั้น ไม่ใช่ไม่ปรากฏ เพราะเป็นศัพท์ที่ไม่ควรใช้. (คือนำมาใช้ได้ เป็นแต่เพียงว่าไม่มีปรากฏ ใช้ในพระบาลีเท่านั้น)
”อุตฺตํ อุจฺจเตติอาทีนิ ปน อวตฺตพฺพภาเวเนว น ทิสฺสนฺตีติ ทฏฺฐพฺพํ. อยํ ปน ชานนากาโร ปฏิสมฺภิทปฺปตฺตานํ มหาขีณาสวานํ วิสโย, น ปุถุชฺชนานํ. เอวํ สนฺเตปิ ปาฬินยํ นิสฺสาย เอตมาการํ ปุถุชฺชนาปิ อปฺปมตฺตกํ ชานนฺติเยว.
ส่วน บทกิริยาว่า อุตฺตํ, อุจฺจเต เป็นต้น พึงทราบว่าไม่มีใช้ เพราะเป็นศัพท์ที่ไม่ควรนำมาใช้อย่างแน่นอน. ก็การที่จะรู้ได้เช่นนี้ ต้องเป็นวิสัยของพระมหาขีณาสพ ผู้บรรลุปฏิสัมภิทาเท่านั้น มิใช่วิสัยของปุถุชนทั้งหลาย. จะอย่างไรก็ตาม แม้ปุถุชน ทั้งหลาย ก็สามารถรู้ลักษณะการใช้เช่นนั้นได้บ้าง โดยอาศัยนัยแห่งพระบาลี. (สัททนีติ สุตตมาลา แปล)


-----------------------------------


โว
ว เป็นพยัญชนอาคม

ทุวงฺคุลํ, ทุวงฺคิกํ, ติวงฺคุลํ, ติวงฺคิกํ, ปาคุญฺญวุชุตา, วุสิตํ, วุตฺตํ, วุจฺจเต, อาสนา วุฏฺฐาติ[1], วุฏฺฐานํ, วุฏฺฐหิตฺวา,

ตัวอย่าง

ปท
ปทจฺเฉท
คำแปลและอธิบายสังเขป
ทุวงฺคุลํ,
ทุ + องฺคุลํ
สองนิ้ว
ทุวงฺคิกํ,
ทุ + องฺคิกํ
มีองค์สอง
ติวงฺคุลํ,
ติ + องฺคุลํ
สามนิ้ว
ติวงฺคิกํ,
ติ + องฺคิกํ
มีองค์สาม
ปาคุญฺญวุชุตา,
ปาคุญฺญ + อุชุตา
ความคล่องแคล่วและความซื่อตรง
วุสิตํ,
อุสิตํ (อุ + สี + ต)
อยู่แล้ว
วุตฺตํ,
อุตฺตํ (อุ กล่าว + ต)
กล่าวแล้ว
วุจฺจเต,
อุจฺจเต (อุจ + ย + ต)
อันเขาย่อมกล่าว
อาสนา วุฏฺฐาติ
อาสนา อุฏฺฐาติ
ลุกขึ้นจากอาสนะ
วุฏฺฐานํ,
อุฏฺฐานํ
การออก
วุฏฺฐหิตฺวา,
อุฏฺฐหิตฺวา
ออกแล้ว

ภิกฺขุวาสเน, ปุถุวาสเน, สยมฺภุวาสเน อิจฺจาทีนิ อุวณฺณนฺตรูปานิ วาคเมนาปิ สิชฺฌนฺติเยวฯ
อุทาหรณ์ในอุวัณณันตะ (อุ - อู การันต์) ย่อมสำเร็จแม้ด้วยการลงวอาคมเหมือนกัน เช่น

ปท
ปทจฺเฉท
คำแปลและอธิบายสังเขป
ภิกฺขุวาสเน,
ภิกฺขุ + อาสเน
บนอาสนะของภิกษุ
ปุถุวาสเน,
ปุถุ + อาสเน
บนอาสนะใหญ่
สยมฺภุวาสเน
สยมฺภู + อาสเน
บนอาสนะของพระสยัมภู (พระพุทธเจ้า)

**********





[1] [ปาจิ. ๕๔๗]
[2] [เป. ว. ๓๗๔]
[3] [ชา. ๑.๑.๘๔]
[4] [อภิธมฺมตฺถสงฺคห]
[5] [พุ. วํ. ๓.๕]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น