วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559

๑๐๑: ทวิภาวสนธิ /ปทวากยทวิตตะ / อภิกขัญญะ

ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนี
ครั้งที่ ๑๐๑: ทวิภาวสนธิ /ปทวากยทวิตตะ / อภิกขัญญะ

เมื่อคราวที่แล้วแสดงอรรถวิจฉาจบไป บัดนี้จะแสดงเหตุให้ใช้คำซ้ำลำดับที่ ๒ คือ เมื่อต้องการแสดงความหมายว่า อภิกขัญญะ คือ กิริยาการทำซ้ำๆ สามารถซ้อนคำนั้นเป็นสองคำได้
 ดังสูตรนี้ว่า
หลักการ : สูตรกำกับวิธีการ
๕๕. วิจฺฉาภิกฺขญฺเญสุ เทฺว.
ทำบทซ้ำ ในอรรถวิจฉา (แผ่ไป) และ อภิกขัญญะ (การทำบ่อย, ซ้ำๆ)

หลักเกณฑ์ : ข้อกำหนดของสูตรและคำอธิบายโดยสังเขป
สูตรนี้ใช้ครอบคลุมหลักการสองอย่าง กล่าวคือ วิจฉา และอภิกขัญญะ ที่จะแสดงต่อไปนี้. อรรถวิจฉา ได้กล่าวไปแล้ว ในที่นี้จะได้กล่าวอรรถอภิกขัญญะ ต่อไป

วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2559

๑๐๐ : ทวิภาวสนธิ / ปทวากยทวิตตะ / วิจฉา

ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนี
ครั้งที่ ๑๐๐ : ทวิภาวสนธิ / ปทวากยทวิตตะ / วิจฉา
          เมื่อคราวที่แล้วมา แสดงวิจฉา ในความหมายว่า แผ่หรือกระจายในสิ่งหลายสิ่งจนทั่วทุกสิ่ง โดยใช้กิริยาเป็นต้น.
          คัมภีร์นิรุตติทีปนี ยังแสดงวิจฉา โดยมีความหมายว่า อานุปุพพิยะ คือ มีโดยลำดับอีกด้วย หมายความว่า นอกจากจะแผ่ไปทุกๆส่วนแล้ว การแผ่ไปนั้นยังมีความเป็นไปตามลำดับอีกด้วย.
          ตัวอย่างที่ท่านแสดงไว้มีดังนี้

มูเล มูเล ถูลา
อ้วนที่โคนตามลำดับ

อคฺเค อคฺเค สุขุมา
ละเอียดบนยอดตามลำดับ

เชฏฺฐํ เชฏฺฐํ อนุปเวเสถ
เข้าไปตามลำดับคนโต

อิเมสํ เทวสิกํ มาสกํ มาสกํ เทหิ
จงให้แก่ชนเหล่านี้ทุกวันทุกเดือน

มญฺชูสกรุกฺโข ปุปฺผํ ปุปฺผํ ปุปฺผติ
ต้นมัญชูสก (ชื่อต้นไม้สวรรค์ชนิดหนึ่ง มีกลิ่นหอม) ผลิดอกไปตามลำดับ

อิเม ชนา ปถํ ปถํ อจฺเจนฺติ,
ชนเหล่านี้ ย่อมไปตามลำดับหนทาง

สพฺเพ อิเม อฑฺฒา,  กตรา กตรา อิเมสํ อฑฺฒตา, กตมา กตมา อิเมสํ อฑฺฒตา.
ชนเหล่านี้ทั้งหมดเป็นคนรวย, ความร่ำรวยของชนเหล่านี้ เป็นอย่างไรๆ, ความมั่งคั่ง ของชนเหล่านี้ เหล่าไหนๆ (หมายถึง ร่ำรวยโดยลำดับอย่างไร, ทรัพย์สมบัติเหล่าไหนๆ ที่เรียงตามลำดับ)

นี้เป็นอุทาหรณ์ที่ท่านแสดงไว้ในคัมภีร์นั้น ควรสดับไว้เป็นเครื่องประดับสติปัญญา
----------------
ขออนุโมทนา

สมภพ สงวนพานิช

วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ครั้งที่ ๙๙ : ทวิภาวสนธิ ปทวากยทวิตตะ / วิจฉา (๑)

การใช้บทซ้ำ

ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนี
ครั้งที่ ๙๙ : ทวิภาวสนธิ ปทวากยทวิตตะ / วิจฉา (๑) 

*** ดูคัมภีร์นิรุตติทีปนี แปล ***
http://niruttitepanee.blogspot.com/2016/05/blog-post_37.html


ในภาษาบาฬีมิได้จำกัดเฉพาะพยัญชนะเท่านั้น แม้บทและประโยค ก็สามารถนำมาซ้อนเพื่อแสดงความประสงค์ต่างๆของผู้กล่าว ดังได้กล่าวมาแล้วว่า การซ้อน มี ๓ ชนิด. คือ
๑. ซ้อนพยัญชนะ เช่น
ปกฺกโม พากเพียร
ปรกฺกโม บากบั่น.

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559

๙๘ : ทวิภาวสนธิ อสทิสทวิตตราสิ

ทฺวิภาวสนฺธิ
อสทิสทวิตต

ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนี
ครั้งที่ ๙๘ : ทวิภาวสนธิ อสทิสทวิตตราสิ
          บทความเกี่ยวกับการศึกษาหลักบาฬีไวยากรณ์ตามแนวทางโมคคัลลานไวยากรณ์ โดยอาศัยนัยที่มาในคัมภีร์นิรุตติทีปนีเป็นคู่มือการศึกษา ก็ได้ดำเนินมาตามลำดับ ผู้เรียบเรียงก็จัดทำเป็นตอนๆ เท่าที่ควรจะเสนอให้อ่านในแต่ละวันตามควรแก่เนื้อหา.

*** ดูคัมภีร์นิรุตติทีปนี ***
          ท่านสาธุชนทั้งหลาย  ช่วงนี้ยังคงอยู่ในสนธิกัณฑ์ อันเป็นช่วงของเนื้อความที่แสดงการเปลี่ยนแปลงอักษรเพื่อการเชื่อมบทแต่ละบทเข้าหากันโดยหวังการย่นเวลาในการออกเสียง และทำให้บทท้ังหลายเมื่อเชื่อมเข้าหากันจะมีความกลมกลือนออกเสียงได้สะดวก และทำให้เสียงไพเราะมากขึ้นด้วย แต่ต้องไม่ทิ้งหลักการว่า ไม่ทำให้เสียเนื้อความของบทเหล่านั้นอีกด้วย.

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559

๙๗ : ทวิภาวสนธิ

ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนี
ครั้งที่ ๙๗ : ทวิภาวสนธิ

**** ดูคัมภีร์นิรุตติทีปนี ***
ฐานะอันควรซ้อนลำดับที่ ๖
ส ที่กลายมาจาก สนฺต เป็นตัวซ้อนพยัญชนะตัวหลัง แน่นอน เช่น
สชฺชโน, คนดี
สปฺปุริโส, บุรุษสงบ, สัตตบุรุษ
สทฺธมฺโม, พระสัทธรรม, ธรรมของสัตตบุรุษ
สนฺตสฺส ภาโว สตฺตา, ความเป็นแห่งคนดีชื่อวา สัตตะ.
สพฺภาโว ความมีแห่งธรรมอันมีอยู่

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2559

๙๖ : ทวิภาวสนธิ

ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนี
ครั้งที่ ๙๖ : ทวิภาวสนธิ


ฐานะที่ควรซ้อนลำดับที่ ๔

ซ้อนพยัญชนะต้นของศัพท์เหล่านี้ คือ ติก ตย และ ติํส เช่น
กุสลตฺติกํ, กุสลติกะ (หมวดสามแห่งธรรมมีกุศลเป็นลำดับแรก)
เวทนตฺติกํ, เวทนาติกะ (หมวดสามแห่งเวทนา, เวทนา ๓ ประเภท)
วตฺถุตฺตยํ, วัตถุ ๓ ประการ มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น
รตนตฺตยํ, พระรัตนตรัย
ทฺวตฺติํสํ, สามสิบสอง
เตตฺติํสํ สามสิบสาม

วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2559

๙๕ : ทวิภาวสนธิ

ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนี
ครั้งที่ ๙๕ : ทวิภาวสนธิ


ฐานะอันควรซ้อนได้ ลำดับที่ ๓
๓) พยัญชนะต้นของบทที่มี อุ, ทุ และนิอุปสัคเป็นบทหน้า  เป็นตัวซ้อน
๓.๑ พยัญชนะต้นของธาตุที่มี อุ เป็นบทหน้า เช่น
อุกฺกํสติ, ย่อมยกย่อง
อุกฺกํโส, การยกย่อง
อุคฺคโห, การยกขึ้น, การเล่าเรียน
อุจฺจาเรติ, ย่อมออกเสียง
อุจฺจาโร, การออกเสียง
อุจฺจโย, สะสม
สมุจฺจโย, สะสม
อุชฺชโล, โชติช่วง
สมุชฺชโล, โชติช่วงขึ้น
อุณฺณมติ, ย่อมฟูขึ้น
อุตฺตรติ ย่อมข้าม