วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559

๑๐๑: ทวิภาวสนธิ /ปทวากยทวิตตะ / อภิกขัญญะ

ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนี
ครั้งที่ ๑๐๑: ทวิภาวสนธิ /ปทวากยทวิตตะ / อภิกขัญญะ

เมื่อคราวที่แล้วแสดงอรรถวิจฉาจบไป บัดนี้จะแสดงเหตุให้ใช้คำซ้ำลำดับที่ ๒ คือ เมื่อต้องการแสดงความหมายว่า อภิกขัญญะ คือ กิริยาการทำซ้ำๆ สามารถซ้อนคำนั้นเป็นสองคำได้
 ดังสูตรนี้ว่า
หลักการ : สูตรกำกับวิธีการ
๕๕. วิจฺฉาภิกฺขญฺเญสุ เทฺว.
ทำบทซ้ำ ในอรรถวิจฉา (แผ่ไป) และ อภิกขัญญะ (การทำบ่อย, ซ้ำๆ)

หลักเกณฑ์ : ข้อกำหนดของสูตรและคำอธิบายโดยสังเขป
สูตรนี้ใช้ครอบคลุมหลักการสองอย่าง กล่าวคือ วิจฉา และอภิกขัญญะ ที่จะแสดงต่อไปนี้. อรรถวิจฉา ได้กล่าวไปแล้ว ในที่นี้จะได้กล่าวอรรถอภิกขัญญะ ต่อไป

วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2559

๑๐๐ : ทวิภาวสนธิ / ปทวากยทวิตตะ / วิจฉา

ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนี
ครั้งที่ ๑๐๐ : ทวิภาวสนธิ / ปทวากยทวิตตะ / วิจฉา
          เมื่อคราวที่แล้วมา แสดงวิจฉา ในความหมายว่า แผ่หรือกระจายในสิ่งหลายสิ่งจนทั่วทุกสิ่ง โดยใช้กิริยาเป็นต้น.
          คัมภีร์นิรุตติทีปนี ยังแสดงวิจฉา โดยมีความหมายว่า อานุปุพพิยะ คือ มีโดยลำดับอีกด้วย หมายความว่า นอกจากจะแผ่ไปทุกๆส่วนแล้ว การแผ่ไปนั้นยังมีความเป็นไปตามลำดับอีกด้วย.
          ตัวอย่างที่ท่านแสดงไว้มีดังนี้

มูเล มูเล ถูลา
อ้วนที่โคนตามลำดับ

อคฺเค อคฺเค สุขุมา
ละเอียดบนยอดตามลำดับ

เชฏฺฐํ เชฏฺฐํ อนุปเวเสถ
เข้าไปตามลำดับคนโต

อิเมสํ เทวสิกํ มาสกํ มาสกํ เทหิ
จงให้แก่ชนเหล่านี้ทุกวันทุกเดือน

มญฺชูสกรุกฺโข ปุปฺผํ ปุปฺผํ ปุปฺผติ
ต้นมัญชูสก (ชื่อต้นไม้สวรรค์ชนิดหนึ่ง มีกลิ่นหอม) ผลิดอกไปตามลำดับ

อิเม ชนา ปถํ ปถํ อจฺเจนฺติ,
ชนเหล่านี้ ย่อมไปตามลำดับหนทาง

สพฺเพ อิเม อฑฺฒา,  กตรา กตรา อิเมสํ อฑฺฒตา, กตมา กตมา อิเมสํ อฑฺฒตา.
ชนเหล่านี้ทั้งหมดเป็นคนรวย, ความร่ำรวยของชนเหล่านี้ เป็นอย่างไรๆ, ความมั่งคั่ง ของชนเหล่านี้ เหล่าไหนๆ (หมายถึง ร่ำรวยโดยลำดับอย่างไร, ทรัพย์สมบัติเหล่าไหนๆ ที่เรียงตามลำดับ)

นี้เป็นอุทาหรณ์ที่ท่านแสดงไว้ในคัมภีร์นั้น ควรสดับไว้เป็นเครื่องประดับสติปัญญา
----------------
ขออนุโมทนา

สมภพ สงวนพานิช

วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ครั้งที่ ๙๙ : ทวิภาวสนธิ ปทวากยทวิตตะ / วิจฉา (๑)

การใช้บทซ้ำ

ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนี
ครั้งที่ ๙๙ : ทวิภาวสนธิ ปทวากยทวิตตะ / วิจฉา (๑) 

*** ดูคัมภีร์นิรุตติทีปนี แปล ***
http://niruttitepanee.blogspot.com/2016/05/blog-post_37.html


ในภาษาบาฬีมิได้จำกัดเฉพาะพยัญชนะเท่านั้น แม้บทและประโยค ก็สามารถนำมาซ้อนเพื่อแสดงความประสงค์ต่างๆของผู้กล่าว ดังได้กล่าวมาแล้วว่า การซ้อน มี ๓ ชนิด. คือ
๑. ซ้อนพยัญชนะ เช่น
ปกฺกโม พากเพียร
ปรกฺกโม บากบั่น.

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559

๙๘ : ทวิภาวสนธิ อสทิสทวิตตราสิ

ทฺวิภาวสนฺธิ
อสทิสทวิตต

ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนี
ครั้งที่ ๙๘ : ทวิภาวสนธิ อสทิสทวิตตราสิ
          บทความเกี่ยวกับการศึกษาหลักบาฬีไวยากรณ์ตามแนวทางโมคคัลลานไวยากรณ์ โดยอาศัยนัยที่มาในคัมภีร์นิรุตติทีปนีเป็นคู่มือการศึกษา ก็ได้ดำเนินมาตามลำดับ ผู้เรียบเรียงก็จัดทำเป็นตอนๆ เท่าที่ควรจะเสนอให้อ่านในแต่ละวันตามควรแก่เนื้อหา.

*** ดูคัมภีร์นิรุตติทีปนี ***
          ท่านสาธุชนทั้งหลาย  ช่วงนี้ยังคงอยู่ในสนธิกัณฑ์ อันเป็นช่วงของเนื้อความที่แสดงการเปลี่ยนแปลงอักษรเพื่อการเชื่อมบทแต่ละบทเข้าหากันโดยหวังการย่นเวลาในการออกเสียง และทำให้บทท้ังหลายเมื่อเชื่อมเข้าหากันจะมีความกลมกลือนออกเสียงได้สะดวก และทำให้เสียงไพเราะมากขึ้นด้วย แต่ต้องไม่ทิ้งหลักการว่า ไม่ทำให้เสียเนื้อความของบทเหล่านั้นอีกด้วย.

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559

๙๗ : ทวิภาวสนธิ

ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนี
ครั้งที่ ๙๗ : ทวิภาวสนธิ

**** ดูคัมภีร์นิรุตติทีปนี ***
ฐานะอันควรซ้อนลำดับที่ ๖
ส ที่กลายมาจาก สนฺต เป็นตัวซ้อนพยัญชนะตัวหลัง แน่นอน เช่น
สชฺชโน, คนดี
สปฺปุริโส, บุรุษสงบ, สัตตบุรุษ
สทฺธมฺโม, พระสัทธรรม, ธรรมของสัตตบุรุษ
สนฺตสฺส ภาโว สตฺตา, ความเป็นแห่งคนดีชื่อวา สัตตะ.
สพฺภาโว ความมีแห่งธรรมอันมีอยู่

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2559

๙๖ : ทวิภาวสนธิ

ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนี
ครั้งที่ ๙๖ : ทวิภาวสนธิ


ฐานะที่ควรซ้อนลำดับที่ ๔

ซ้อนพยัญชนะต้นของศัพท์เหล่านี้ คือ ติก ตย และ ติํส เช่น
กุสลตฺติกํ, กุสลติกะ (หมวดสามแห่งธรรมมีกุศลเป็นลำดับแรก)
เวทนตฺติกํ, เวทนาติกะ (หมวดสามแห่งเวทนา, เวทนา ๓ ประเภท)
วตฺถุตฺตยํ, วัตถุ ๓ ประการ มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น
รตนตฺตยํ, พระรัตนตรัย
ทฺวตฺติํสํ, สามสิบสอง
เตตฺติํสํ สามสิบสาม

วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2559

๙๕ : ทวิภาวสนธิ

ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนี
ครั้งที่ ๙๕ : ทวิภาวสนธิ


ฐานะอันควรซ้อนได้ ลำดับที่ ๓
๓) พยัญชนะต้นของบทที่มี อุ, ทุ และนิอุปสัคเป็นบทหน้า  เป็นตัวซ้อน
๓.๑ พยัญชนะต้นของธาตุที่มี อุ เป็นบทหน้า เช่น
อุกฺกํสติ, ย่อมยกย่อง
อุกฺกํโส, การยกย่อง
อุคฺคโห, การยกขึ้น, การเล่าเรียน
อุจฺจาเรติ, ย่อมออกเสียง
อุจฺจาโร, การออกเสียง
อุจฺจโย, สะสม
สมุจฺจโย, สะสม
อุชฺชโล, โชติช่วง
สมุชฺชโล, โชติช่วงขึ้น
อุณฺณมติ, ย่อมฟูขึ้น
อุตฺตรติ ย่อมข้าม

วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ครั้งที่ ๙๔ : ทวิภาวสนธิ

ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนี
ครั้งที่ ๙๔ : ทวิภาวสนธิ

ฐานะอันควรซ้อนได้ ลำดับที่ ๒
๒) พยัญชนะต้นของธาตุเหล่านี้ คือ กี กุธ, กมุ, กุส, คห, ชุต, ญา, สิ, สุ, สมฺภุ, สร, สส  -
๒.๑ กีธาตุ เช่น
วิกฺกินาติ =  ย่อมขาย
วิกฺกโย =การซื้อขาย
ธนกฺกีโต = ผู้ที่ถูกซื้อมาด้วยทรัพย์

วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ครั้งที่ ๙๓ : ทวิภาวสนธิ

ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนี
ครั้งที่ ๙๓ : ทวิภาวสนธิ    

ทวิภาวสนธิ คือ การเชื่อมสนธิโดยการทำอักษรให้เป็นสองตัว. ทวิภาวะ คือ การมีพยัญชนะ ๒ สองตัวอยู่ติดกัน โดยไม่มีสระอยู่ระหว่างเรียกว่า สังโยค ดังนั้น การเข้าสนธิโดยวิธีการเช่นนี้ เรียกว่า สัญโญคะ ก็มี ดังนั้น คำว่า ซ้อน เป็นคำแปลของคำว่า ทวิภาวะ โดยอรรถ ส่วนคำแปลว่า ความเป็นอักษรสองตัว จึงเป็นคำแปลโดยพยัญชนะ.
สรุป จะเรียกว่า ซ้อน ก็ได้ เรียกวา ทวิภาวะ  ก็ได้ ไม่ผิด แต่ในที่นี้จะเรียกว่า ซ้อน. พึงทราบว่า การซ้อน หรือ ทวิภาวะ  ได้แก่การนำพยัญชนะวางไว้ข้างหน้าพยัญชนะตัวเดิมนั่นเอง.
โดยทั่้วไปการซ้อน จะมีทั้งการซ้อนพยัญชนะ พยัญชนทวิตตะ ซ้อนบทมีวิภัตติ วิภัตตยันตทวิตตะ และซ้อนธาตุ ธาตุปททวิตตะ ดัง คัมภีร์นิรุตติทีปนี แสดงไว้ว่า

วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

๙๒ : นิคคหิตอาคม : การลง นิคคหิตอาคม

ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนี
ครั้งที่ ๙๒  : นิคคหิตอาคม : การลง นิคคหิตอาคม

(ดูสูตร การลงนิคคหิตอาคม จากคัมภีร์นิรุตติทีปนี)
การลงอักษรอาคมได้แสดงมาโดยลำดับตั้งแต่สระจนถึงพยัญชนะ ทั้งวรรคและอวรรค แม้นิคคหิตอันเป็นพยัญชนะตัวท้ายสุด ก็สามารถเป็นอักษรอาคมได้. คัมภีร์นิรุตติทีปนีแสดงการลง อาคมไว้ด้วยหลักการของสูตรนี้

หลักการ : สูตรกำกับวิธีการ
   ๕๒. นิคฺคหีตํ
ในบางแห่งนิคคหิตเป็นอาคม ได้บ้าง.

หลักเกณฑ์ : ข้อกำหนดของสูตรและอธิบายโดยสังเขป
๑. นิคคหิตอาคม สามารถลงได้ ในกรณีที่มีสระเป็นเบื้องหลังบ้าง พยัญชนะเป็นเบื้องหลังบ้าง
๒. ไม่จำเป็นจะต้องลงนิคคหิตเสมอไป อาจไม่ลงก็ได้ เพราะในสูตรกำกับว่า “ได้บ้าง (วา)”, และรูปที่มีการลงนิคคหิตมีเพียงไม่มาก เพราะในสูตรกำกับว่า “ในบางแห่ง (กฺวจิ)”

วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2559

๙๑ ห อาคม

ครั้งที่ ๙๑  : พยัญชนอาคม : การลง ส และ ห อาคม
คัมภีร์นิรุตติทีปนีแสดงการลง ส และ ห เป็นพยัญชนอาคมไว้ด้วยหลักการของมหาสูตร ว่า
๑. ส เป็นอาคม ลงท้าย มน ศัพท์เป็นต้น
๒. ห เป็นอาคม จะลงหน้าสระ โดยมาก
ดูนิรุตติทีปนีตามลิงค์นี้
 http://niruttitepanee.blogspot.com/2016/06/blog-post_27.html
ส อาคม มีตัวอย่างการใช้ดังนี้
มนสิกาโร = มน + อิ (สฺมิํ วิภัตติ) + กาโร
กระทำไว้ในใจ

มานสิโก = มน + ณิก + อิก
ธรรมอันมีในใจ

เจตสิโก = เจต + ณิก
เจตสิก (ธรรมมีในจิต)

อพฺยคฺคมนโส นโร = อพฺยคฺคมน  + โอ (สิวิภัตติ)
มีจิตปราศจากความลังเลสงสัย

ปุตฺโต ชาโต อเจตโส = อเจต + โอ (สิวิภัตติ))
พระราชบุตรเป็นเหมือนกับคนไม่มีจิต

อุเร ภโว โอรโส = อุร + ณ + โอ (สิวิภัตติ)
บุตรผู้มีในอุระ ชื่อว่า โอรส

*******

ห อาคม มีตัวอย่างการใช้ดังต่อไปนี้

มา เหวํ อานนฺท = มา + เอวํ
ดูก่อนอานนท์ เธออย่ากล่าวอย่างนี้

โน เหตํ ภนฺเต = โน + เอตํ + ภนฺเต
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไม่เป็นอย่างนั้น

โน หิทํ โภ โคตม = โน +อิทํ โภ โคตม
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ไม่เป็นอย่างนี้

น เหวํ วตฺตพฺเพ = ห + เอวํ  วตฺตพฺเพ
ไม่พึงกล่าวอย่างนี้

เหวํ วตฺตพฺเพ = เอวํ วตฺตพฺเพ
พึงกล่าวอย่างนี้

เหวํ วทติ = เอวํ วทติ
ย่อมกล่าวอย่างนี้

อุชู จ สุหุชู จ = อุชู จ สุ  + อุชู จ
ตรงด้วย ตรงด้วยดี ด้วย

สุหุฏฺฐิตํ สุขโณ = สุ + อุฏฺฐิตํ สุขโณ
การลุกขึ้นด้วยดี, ขณะที่ดี

เป็นอันจบวิธีการลงพยัญชนอาคมไว้เพียงเท่านี้
สรุปว่า การลงพยัญชนะเป็นอาคมเท่าที่กล่าวไว้ในคัมภีร์นิรุตติทีปนีมีทั้งหมด คือ
, , , , ค, ย, ท
ด้วยสูตร  วนตรคา จาคมา ในเพราะสระเบื้องหลัง พยัญชนะเหล่านี้ คือ ว, , , , ค และ ย ท เป็นอักษรอาคม.
ด้วยสูตร ฉา โฬ ลง ฬ อาคมท้าย ฉ (๖) ในเพราะสระหลัง
ส และ ห ด้วยมหาสูตร คือ ไม่มีสูตรลงเฉพาะแต่สำเร็จรูปโดยอาศัยแนวทางพระบาฬี

ขออนุโมทนา
สมภพ สงวนพานิช



[1] [ที. นิ. ๒.๙๕]
[2] [ที. นิ. ๑.๑๘๕-๑๘๖]
[3] [ที. นิ. ๑.๒๖๓]
[4] [กถา. ๑]
[5] [ขุ. ปา. ๙.๑]

วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2559

๙๐ ฬ อาคม

ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนี
ครั้งที่ ๙๐  : พยัญชนอาคม : การลง ฬ อาคม
คัมภีร์นิรุตติทีปนีแสดงการลง ฬ เป็นพยัญชนอาคมไว้ด้วยสูตรนี้

หลักการ : สูตรกำกับวิธีการ

๕๑. ฉา โฬ
เพราะมีสระหลัง ลง ฬ เป็นอักษรอาคม ท้าย ฉ (๖)

หลักเกณฑ์ : ข้อกำหนดของสูตรและคำอธิบายสังเขป
สูตรนี้มีข้อกำหนดเพิ่มว่า ฬ อาคม จะต้องลงท้าย ฉ ที่เป็นสังขยาศัพท์ และต้องมีสระอยู่เบื้องหลัง.  ดังตัวอย่างต่อไปนี้

หลักการใช้ : อุทาหรณ์ของสูตร
ฉฬงฺคํ = มีองค์ ๖
ฉ + องฺคํ

ฉฬายตนํ = ฉ + อายตนํ
อายตนะ ๖

ฉฬาสีติสหสฺสานิ  = ฉ + อสีติสหสฺสานิ
แปดหมื่นหกพัน

อตฺถสฺส ทฺวารา ปมุขา ฉเฬเต, = ฉ + เอเต
อุบายยอดเยี่ยม ๖ ประการ สำหรับการบรรลุความเจริญ

ฉเฬวานุสยา โหนฺติ = ฉ + เอว
อนุสัยท. ๖ นั่นเทียว ย่อมมี

ฉฬภิญฺญา มหิทฺธิกา = ฉ + อภิญฺญา
เป็นผู้มีอภิญญา ๖ มีฤทธิ์มาก

ขออนุโมทนา

สมภพ สงวนพานิช

วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2559

๘๙ วอาคม

ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนี
ครั้งที่ ๘๙  : พยัญชนอาคม : การลง ว อาคม
คัมภีร์นิรุตติทีปนีแสดงการลง ว เป็นพยัญชนอาคมไว้ด้วยหลักการของสูตรว่า
๕๐ วนตรคา จาคมา
เพราะสระอันเป็นเบื้องหลัง พยัญชนะเหล่านี้ คือ ว, น, ต, ร, ค (กลุ่มหนึ่ง), และ ย ท (อีกกลุ่มหนึ่ง) เป็นอักษรอาคม.
ตัวอย่างการใช้ ว อาคม ดังต่อไปนี้

วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2559

๘๘. ร อาคม

ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนี
ครั้งที่ ๘๘  : พยัญชนอาคม : การลง ร อาคม

คัมภีร์นิรุตติทีปนีแสดงการลง ร เป็นพยัญชนอาคมไว้ด้วยหลักการของสูตรว่า
๕๐ วนตรคา จาคมา
เพราะสระอันเป็นเบื้องหลัง พยัญชนะเหล่านี้ คือ ว, น, ต, ร, ค (กลุ่มหนึ่ง), และ ย ท (อีกกลุ่มหนึ่ง) เป็นอักษรอาคม.
ตัวอย่างการใช้ ร อาคม ดังต่อไปนี้

วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๘๗. ย อาคม

ศึกษาบาฬีไวยากรณ์กับคัมภีร์นิรุตติทีปนี
ครั้งที่ ๘๗  : พยัญชนอาคม : การลง ย อาคม

ย อาคม มีหลักการใช้ตามข้อกำหนดของสูตร ว่า
๕๐ วนตรคา จาคมา
เพราะสระอันเป็นเบื้องหลัง พยัญชนะเหล่านี้ คือ ว, น, ต, ร, ค (กลุ่มหนึ่ง), และ ย ท (อีกกลุ่มหนึ่ง) เป็นอักษรอาคม. 
(ดูสูตรในคัมภีร์นิรุตติทีปนี http://niruttitepanee.blogspot.com/2016/05/blog-post_17.html )

ตัวอย่างการใช้ย อาคมตามที่คัมภีร์นิรุตติทีปนียกมาแสดงประกอบในสูตรนั้น ดังต่อไปนี้

วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

๘๖. ม อาคม

โม
ลง ม เป็นอาคม

ลหุเมสฺสติ[1], ครุเมสฺสติ, มคฺคมตฺถิ[2], อคฺคมกฺขายติ[3], อุรคามิว[4], อรหตามิว [5] อิจฺจาทีนิฯ
ตัวอย่าง
ปท
ปทจฺเฉท
คำแปลและอธิบายสังเขป
ลหุเมสฺสติ
ลหุ + เอสฺสติ
จักถึง ช้า
ครุเมสฺสติ,
ครุ + เอสฺสติ
จักถึง เร็ว
มคฺคมตฺถิ
มคฺโค + อตฺถิ
หนทาง มีอยู่
อคฺคมกฺขายติ
อคฺโค + อกฺขายติ
อันเรา ย่อมกล่าวว่าเป็นเลิศ
อุรคามิว
อุรคา + อิว
เหมือนงู
อรหตามิว  อิจฺจาทีนิฯ
อรหตา + อิว
ดังพระอรหันต์

ตถา เกน เต อิธ มิชฺฌติ[6], รูปานิ มนุปสฺสติ[7], อากาเส มภิปูชเย, อญฺญมญฺญสฺส[8], เอกเมกสฺส[9], สมณมจโล, อทุกฺขมสุขา เวทนา[10] อิจฺจาทิฯ
แม้ตัวอย่างเหล่านี้ ก็ลง ม อาคมเหมือนกัน